ไอเดียการออกแบบ portfolio ให้ดู professional
เด็กยุคใหม่ใส่ใจการทำ portfolio ส่วนประกอบสำคัญที่จะยืนยันได้ว่า น้อง ๆ มีคุณสมบัติเพียงพอสำหรับการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยชั้นนำ มีน้อง ๆ หลายคนที่กำลังกังวลใจอยู่ว่า การทำแฟ้มสะสมผลงานจะยุ่งยากหรือไม่ แล้วควรทำแฟ้มสะสมผลงานอย่างไรถึงจะออกมาดูดีน่าเชื่อถือ และยังสามารถทำให้กรรมการพึงพอใจได้อีกด้วย ในปัจจุบันนี้เป็นยุคที่เทคโนโลยีมีความล้ำสมัย ทำให้การออกแบบแฟ้มสะสมผลงานกลายเป็นเรื่องง่าย และรูปแบบของการสร้างสรรค์นั้นก็มีความทันสมัยด้วย
ถ้าใครยังไม่รู้ว่าจะออกแบบแฟ้มสะสมผลงานอย่างไรให้น่าสนใจ วันนี้เราได้รวบรวม เทคนิค การออกแบบแฟ้มสะสมผลงานให้ดูดี ทันสมัย และมีองค์ประกอบที่ครบถ้วน แต่ก่อนอื่นน้อง ๆ จะต้องรู้ก่อนว่าในแฟ้มสะสมผลงาน ควรที่จะมีองค์ประกอบอะไรบ้าง เพราะถ้าน้องจะใช้ยื่นในรอบโควต้า ก็จะต้องมีเนื้อหาข้อมูลที่ครบถ้วน เพื่อที่จะเป็นตัวการันตีได้ว่า นักเรียนคนนี้มีศักยภาพเพียงพอที่จะเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยชั้นนำคณะการเรียนนั้น ๆ
มาทำความรู้จักกับองค์ประกอบของ portfolio
ก่อนที่จะไปมองหาวิธีการออกแบบ portfolio ให้สวยโดดเด่น และมีความน่าเชื่อถือ สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ น้องๆควรที่จะต้องทำความรู้จักกับองค์ประกอบของแฟ้มสะสมผลงานอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้จัดเตรียมข้อมูลให้พร้อม ก่อนลงมือออกแบบแฟ้มสะสมผลงานของตัวเอง บางคนบอกว่าแฟ้มสะสมผลงาน มีไว้เพื่อเก็บเกียรติบัตรที่ได้รับจากรางวัลต่างๆ บางคนบอกว่าแฟ้มสะสมเป็นผลงาน เป็นประวัติส่วนตัวที่อธิบายอย่างละเอียด แต่จริงๆแล้วแฟ้มสะสมผลงาน คือหลักฐานแสดงศักยภาพของบุคคลนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติทางด้านการศึกษา ประวัติครอบครัว รวมไปถึงคติในการใช้ชีวิต จากการมองในมุมของผู้อื่น
รวมถึงเก็บรวบรวมผลงานทางด้านการศึกษาและงานด้านกิจกรรมทั้งหมด เพื่อแสดงให้คณะกรรมการเห็นว่าเรามีความรู้และความสามารถในด้านใดบ้าง เมื่อเราสามารถรวบรวมข้อมูลทั้งหมดแล้ว ถึงจะมามองหา เทคนิค การออกแบบแฟ้มสะสมผลงานให้ดูดี
สำหรับใครที่อยากสร้างโปรไฟล์ในด้านของการศึกษา ที่มีความโดดเด่น น้องๆควรที่จะมองหาการสอบแข่งขันหรือการสอบวัดระดับความรู้ ที่มีการมอบเกียรติบัตรให้กับผู้ที่ได้รับรางวัล เพื่อเป็นผลงานทางด้านวิชาการศึกษา รวมไปถึงน้อง ๆ ควรที่จะพัฒนาทักษะความรู้ทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ โดยน้อง ๆ สามารถที่จะเข้ามาเพิ่มเติมความรู้กับพี่ ๆ ใน megastudy ได้ นอกจากจะได้ความรู้เพิ่มเติมทางด้านวิชาการแล้ว ยังจะได้รับคำแนะนำในการยื่นแฟ้มสะสมผลงานรอบโควต้าอีกด้วย
รู้หรือไม่ว่าสิ่งสำคัญในการพิจารณา portfolio คืออะไร
สำหรับหลักเกณฑ์ในการพิจารณา portfolio ของคณะกรรมการมหาวิทยาลัย ในรอบโควต้า จะเลือกเน้นคัดนักเรียนที่มีความโดดเด่น และมีคุณสมบัติ ตรงกับคณะเรียน โดยตั้งคะแนนไว้ที่ 60% และคะแนนสอบสัมภาษณ์ รวมถึงคะแนนการทดสอบภาคปฏิบัติอีก 40% ซึ่ง60%ของคะแนนแฟ้มสะสมผลงานถือว่าเป็นจำนวนที่ไม่น้อยเลยทีเดียว บางคณะอาจจะกำหนดปริมาณจำนวนหน้าของแฟ้มสะสมผลงานรวมไปถึงหลักเกณฑ์ต่างๆเพื่อให้น้อง ๆ ได้ออกแบบได้อย่างตรงจุด เช่นบางคณะกำหนดให้แฟ้มสะสมผลงานมีจำนวนไม่เกิน 10 หน้า โดยใช้ขนาด a4 และจะต้องจัดทำเป็นรูปเล่มเท่านั้น ดังนั้นก่อนที่น้อง ๆ จะเริ่มออกแบบแฟ้มสะสมผลงานก็จะต้องเช็ครายละเอียดและกฎเกณฑ์ตามที่คณะกำหนด เพื่อที่จะทำให้ตรงตามกำหนดมากที่สุด เพราะจะช่วยเพิ่มโอกาสในการพิจารณาขึ้นได้
และอย่าลืมเตรียมเอกสารทางการศึกษาให้พร้อม เพราะบางคณะอาจจะกำหนดให้ใส่สำเนาทางการศึกษาลงในแฟ้มสะสมผลงานเลยก็ได้ หรืออาจจะแยกเอกสารทางการศึกษาเป็นอีก 1 ชุด ในการพิจารณา
แจก 5 เทคนิค การออกแบบ portfolio ให้ถูกใจกรรมการ
มาถึงขั้นตอนการออกแบบ portfolio ให้มีความน่าสนใจ และโดดเด่น เป็นที่สะดุดตาของคณะกรรมการ เทคนิค ที่จะทำให้แฟ้มสะสมผลงานมีความสวยงามครบถ้วนสมบูรณ์ มีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกัน แต่วันนี้เราได้สรุปมาให้ 5 เทคนิคในการออกแบบครั้งนี้ รับรองว่าถึงจะไม่เก่งไอที ไม่มีหัวทางด้านการออกแบบ ก็มีแฟ้มสะสมผลงานที่ทันสมัย น่าเชื่อถือ และสะดุดตาได้ เพราะในปัจจุบันนี้มีทั้งเว็บไซต์ที่เป็นตัวช่วยในการสร้างสรรค์ไอเดียการทำแฟ้มสะสมผลงาน รวมไปถึงแบบฟอร์มสำเร็จรูป ที่ช่วยให้การทำแฟ้มสะสมผลงานกลายเป็นเรื่องง่ายยิ่งขึ้น เราลองไปดูกันว่า 5 เทคนิคที่จะแนะนำในวันนี้มีอะไรบ้าง
จัดเตรียมเอกสารและข้อมูลให้พร้อมก่อนเริ่มลงมือทำ portfolio
ข้อมูลที่จะใช้ในการทำแฟ้มสะสมผลงานถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญ น้อง ๆ ควรที่จะคัดเลือกข้อมูลที่จะใช้ในแฟ้มสะสมผลงานออกมาเป็นข้อๆ เพื่อที่จะง่ายต่อการเรียบเรียง และทำให้น้อง ๆ สามารถเช็คความครบถ้วนของข้อมูลได้ เริ่มจากประวัติส่วนตัว คำนิยม และผลงานทางด้านวิชาการ รวมไปถึงผลงานกิจกรรม โดยเรียงลำดับวันที่ และปีพ.ศ.เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและง่ายต่อการประมวลข้อมูล
เตรียมคำนิยมจากอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ที่ดูแลงานกิจกรรมของตัวเอง
ภายใน portfolio ควรที่จะมีคำนิยมของอาจารย์ที่ปรึกษา และอาจารย์ที่ดูแลในเรื่องของงานกิจกรรมที่น้อง ๆ ทำอยู่ เพื่อที่จะยืนยันได้ว่า น้อง ๆ เป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านใดบ้าง และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแฟ้มสะสมผลงานเล่มนี้ แนะนำว่าให้มีเพียง 1-2 หน้าก็พอ แต่ภายใน 1 หน้าอาจจะมี คำนิยมจากอาจารย์ 1 - 2 ท่าน ขึ้นอยู่กับการออกแบบหน้าให้สละสลวย
รูปภาพประกอบใน portfolio ควรเป็นภาพจริง
สำหรับภาพที่ใช้ประกอบในแฟ้มสะสมผลงานนี้ควรที่จะใช้เป็นภาพจริง ในการทำกิจกรรมนั้น ๆ เพราะจะแสดงให้ถึงความตั้งใจจริง ๆ ถ้ารูปกิจกรรมดูไม่สมจริง คณะกรรมการก็อาจจะเห็นว่าน้อง ๆ อาจจะยังมีศักยภาพไม่เพียงพอที่จะเข้าศึกษาต่อในคณะนั้นเลยก็ได้
เก็บเกียรติบัตรสำหรับ portfolio
ในปัจจุบันนี้ทางมหาวิทยาลัยหลายสถาบัน ได้เปิดหลักสูตรออนไลน์เพื่อพัฒนาศักยภาพในด้านต่างๆ โดยหลังจากการจบหลักสูตรนั้นจะมีการมอบเกียรติบัตรให้ด้วย น้อง ๆ ที่อยากจะมีผลงานทางด้านวิชาการ ก็สามารถที่จะเข้าร่วมหลักสูตรออนไลน์เหล่านั้นได้ เพราะจะทำให้น้อง ๆ มีโอกาสที่จะได้สิทธิ์เรียนต่อในคณะนั้นมากขึ้น เนื่องจากคณะกรรมการจะเห็นว่าน้อง ๆ มีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และพร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
เรียบแต่ดูดี ทันสมัย เป็นลักษณะ portfolio ที่ดี
ในการออกแบบสีของแฟ้มสะสมผลงานนั้นไม่ควรที่จะใช้สีเยอะจนเกินไป ควรที่จะมองหาโทนที่ใช้ 2-3 สี ก็พอ เพราะถ้าเยอะกว่านี้อาจจะทำให้ดูลายตาและไม่เรียบร้อยนั่นเอง เพราะฉะนั้นเลือกสีที่เป็นคนสดใสได้แต่ต้องไม่เยอะจนเกินไป เพื่อให้แฟ้มสะสมผลงานของน้อง ๆ ดูมีความน่าสนใจและน่าอ่านยิ่งขึ้นนั่นเอง
พี่ mega
mentor
พี่ๆคอยให้คำปรึกษาพร้อมแก้ไขปัญหาในทุกเรื่องของการเรียนและสอบให้กับน้อง ๆ
- #Dek66 #TCAS66 #Portfolio