เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ

ข้อมูลการศึกษา

HOT News บทความที่คุณต้องการทั้งหมด
สับสน! ไม่ใช่ GPA แต่เป็น GPAX หรอ?
  • พี่ กระจก
  • 24.02.2566

เพื่อน ๆ mega ที่ใกล้จะสอบ A-Level และต้องกรอกใบสมัครเข้ามหาวิทยาลัย! ตั้งใจที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัยไหนกันคะ?🤔

ทุกคนรู้กันอยู่แล้วใช่ไหมว่าถ้าหากตั้งใจที่จะเข้ามหาวิทยาลัย เราต้องใช้คะแนนอย่างไรบ้าง? 

พี่แก้วได้ลองทำการค้นหาข้อมูลมาอย่างตั้งใจ เพื่อที่จะคุยกับเพื่อน ๆ ว่าในแต่ละมหาวิทยาลัยนั้นต้องใช้คะแนนอะไรและเท่าไหร่กันบ้าง 📃📃🧐

แล้วพี่ก็จะบอกวิธีการคำนวณ GPA กับ GPAX ให้สำหรับเพื่อน ๆ บางคนที่อาจจะยังไม่รู้😃

 

แต่ละมหาวิทยาลัยจะใช้แค่เพียง GPA หรือ GPAX อย่างใดอย่างหนึ่งสำหรับการวัดคะแนน 

ซึ่งคะแนนนี้จะถูกใช้อย่างโดยตรงและใช้เป็นคะแนนต่ำสุด 

 

ยกตัวอย่างเช่น รูปแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ในรอบที่ 3 จะใช้คะแนน GPAX แทนคะแนน GPA ซึ่งจะใช้คะแนนอันนี้เป็นเกณฑ์การศึกษาขั้นต่ำ และในบางโรงเรียนก็ใช้ทั้งคะแนน GPA และ GPAX ใช่ไหมล่ะคะ เพราะแบบนี้เกณฑ์ทั้งสองจึงเป็นคะแนนที่วัดมาจากสายการเรียนที่เราได้เคยเรียนมาตลอดชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6  แต่ว่าอะไรคือความแตกต่างและทำให้คะแนนทั้งสองอันนี้ต่างกัน? 

 

ในตอนนี้พี่แก้วจะมาบอกความแตกต่างของ GPA และ GPAX ให้กับเพื่อน ๆ ที่ยังไม่รู้กันค่ะ😤😤

 

1. GPA​


 GPA ย่อมากจาก Grade Point Average ซึ่งแปลว่า ‘ค่าเฉลี่ยของเกรด’ หรือหมายถึงผลของการเรียนในแต่ละวิชา เมื่อพูดถึง GPA ก็จะพูดถึงคะแนนตามแต่ละวิชา เช่น GPA ของวิชาภาษาไทย, GPA ของวิชาคณิตศาสตร์, GPA ของวิชาวิทยาศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งจะคำนวณจากคะแนนเฉลี่ยในแต่ละภาคการศึกษา ยกตัวอย่างเช่น GPA ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เทอม 1 คือ 3.30, GPA ของชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เทอม 2 คือ 2.65 GPA โดยในแต่ละเทอมนั้นจะคิดจากการหาค่าของเกรดแต่ละวิชาที่เราได้ ไปคูณกับหน่วยกิตของวิชานั้น ๆ แล้วนำผลลัพธ์ของทุกวิชามาบวกกันให้หมด สุดท้ายก็นำค่านั้นมาเป็นตัวตั้งที่หารด้วยผลรวมของหน่วยกิตทั้งหมด

 

2. GPAX

 

GPAX คือ คะแนนโดยเฉลี่ยทั้งหมดที่เราสะสมเอาไว้ในแต่ละเทอม จากนั้นก็นำคะแนนมาคำนวณหาค่าเฉลี่ยอีกที ยกตัวอย่างเช่น ถ้าหากเราจะหาค่าเฉลี่ยรวมของหน่วยกิต 5 ภาคเรียน เราจะต้องนำหน่วยกิตที่เราได้มาบวกรวมกันทั้งหมด ตั้งแต่หน่วยกิตในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เทอม 1 จนถึง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เทอม 1 จากนั้นให้หารด้วยผลรวมของหน่วยกิตทั้งหมด 5 เทอม แบบนี้ GPAX ที่เราคำนวนออกมาก็จะสามารถเขียนได้เป็น ‘GPAX ของห้าเทอมคือ 3.50’ เป็นต้น สิ่งที่เราควรระมัดระวังในตอนที่คำนวนหาค่า GPAX คือ ถ้าหากบวกคะแนน GPA ในแต่ละภาคการศึกษาแล้วนำไปหารด้วยจำนวนภาคเรียน เราจะได้คะแนนที่ไม่ถูกต้องค่ะ ดังนั้นอย่าลืมว่าเราต้องบวกคะแนนก่อนแล้วค่อยหารด้วยผลรวมของหน่วยกิตทั้งหมด 

 


 

สุดท้ายนี้ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรจะระมัดระวัง นักเรียนจะต้องตรวจเช็คในตอนสมัครสอบให้ชัดเจนว่าเราต้องใช้ GPA หรือ GPAX ที่ "เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า” หรือ "เกรดเฉลี่ยต้องสูงกว่า” ถ้าหากในกรณีที่เป็น "เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00” นักเรียนที่มีคะแนน 3.00 สามารถยื่นคะแนนได้ แต่ในทางกลับกัน สำหรับกรณีที่เป็น "เกรดเฉลี่ยต้องสูงกว่า 3.00” นักเรียนที่มีคะแนน 3.00 ไม่สามารถยื่นได้ นักเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ย 3.01 เป็นต้นไปถึงจะสามารถยื่นสมัครได้ ดังนั้นเราต้องเช็คเงื่อนไขอันนี้อย่างแม่นยำนะคะ!

 

พี่ กระจก
mentor

พี่ที่แสน perfect ของทาง mega ที่คอยอัพเดตข่าวสารใหม่ ๆ ให้น้องๆไม่ตกเทรน ได้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด

  • #TCAS66
  • #TCAS67
  • # A-Level
  • #TCAS รอบ 3 quota
  • #TCAS รอบ 3 Admission
  • #TCAS
  • # GPA
  • # GPAX
  • #เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า
  • #เกรดเฉลี่ยต้องสูงกว่า
prev เด็กซิ่ว อยากเข้าระบบใหม่อีกครั้ง ทำได้หรือไม่
next ประกาศแล้ว สนามสอบและพิมพ์บัตรสนามสอบ A-Level