วันสอบอยู่เแค่เพียงปลายจมูกเอง!😵😵😵
ตอนนี้เราอาจจะมีความคิดว่า ถ้าหากสอบเสร็จแล้ว หรือ มีเวลาเพิ่มอีกสักเดือนนึงก็คงจะดี และเราก็อาจจะกังวลว่า เราจะสามารถแสดงศักยภาพด้วยสภาพร่างกายที่ดีได้เท่ากับตอนเรียนไหม? ถึงจะตั้งใจเรียนมากแค่ไหน
แต่ถ้าหากเราไม่สามารถแสดงศักยภาพของตัวเองได้อย่างเต็มที่หรือทำข้อสอบไม่ได้ เราจะเสียใจขนาดไหนนะ?
ความจริงแล้วเคยมีคนบอกเอาไว้ว่าเวลาที่พวกเราสอบ เราจะมีโจทย์ทำผิดอยู่ประมาณ 3 ข้อ แต่ว่าถ้าหากเราถูกข้อพวกนี้ คะแนนของเราก็จะเพิ่มขึ้น 10 คะแนนเลยนะ 😂
เพราะงั้นวันนี้พี่แก้วจะมาบอกข้อสำคัญ 2 ข้อ สำหรับการโชว์ศักยภาพของเราออกมาที่สนามสอบ!
วิธีที่จะไม่ทำให้โจทย์ที่เรารู้ผิดไปอย่างน่าเสียดาย! ชู่ว! อย่าเอาไปบอกเพื่อนคนอื่น! เธออ่านคนเดียวพอ!
#1. การฝึกฝนให้ตัวเองไม่ยึดติดอยู่กับโจทย์ที่ไม่สามารถทำได้
มีนักเรียนหลายคนที่พยายามท่องจำคำศัพท์หรือฝึกฝนในการแก้ไขโจทย์ปัญหาอย่างหนัก เพื่อที่จะทำข้อสอบให้ได้เป็นอย่างดี แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีช่วงที่เรารู้สึกเศร้าเสียใจให้กับเนื้อหาที่ไม่ว่าจะทำอย่างไรเราก็ไม่เข้าใจสักที หรือเนื้อหาที่เรารู้แต่ก็ยังจำไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่เราได้ลองแก้โจทย์นั้นอยู่หลายครั้งแล้วก็ตาม (พี่แก้วเองก็มีช่วงเวลาที่พอเจอข้อสอบแล้วน้ำตาก็เกือบจะไหลออกมา😢😢)
ในช่วงเวลาพวกนี้ นักเรียนหลาย ๆ คนก็มักจะตำหนิว่าตัวเองยังไม่ตั้งใจเรียนมากพอ
ซึ่งก็ทำให้เราไปยึดติดกับการลองพยายามแก้ไขโจทย์นี้ แต่ว่าถ้าเป็นพี่ ในเวลานั้นพี่จะไม่ยึดติดกับโจทย์พวกนั้นแหละ
ความคิดของเราไม่ได้เกิดขึ้นเพียงเพราะแค่ความพยายามเท่านั้นหรอกนะ เวลาที่ความคิดของเราจะเกิดขึ้น มันจำเป็นที่จะต้องใช้ความสัมพันธ์ร่วมกับสิ่งอื่น ๆ ไม่ได้ใช้เพียงแค่ประสาทสัมผัสทั้งห้าอย่างการได้กลิ่น, การได้ยิน, หรือการมองเห็นเท่านั้น แต่มันยังต้องเชื่อมโยงกับความทรงจำอื่น ๆ ที่อยู่ในหัวของเราด้วย ก็เหมือนกับกระบวนการที่คิดและเข้าใจกับเหตุการณ์อื่น ๆ ดังนั้นเมื่อเราแก้ไขปัญหาไม่ได้และติดอยู่แต่กับปัญหานั้น มันก็เหมือนกับว่าเราไปให้สิ่งเร้าเดียวกันที่สมองของเราอยู่สม่ำเสมอ ซึ่งนั้นไม่ได้ให้ความช่วยเหลือต่อการแก้ไขปัญหามากเท่าไร หากสมมติว่าเราได้ลองพยายามที่จะแก้ไขโจทย์อื่น ๆ ดูด้วย เราก็อาจจะเข้าใจโจทย์นั้นได้โดยธรรมชาติ หรืออาจจะนึกถึงในสิ่งที่เราจำไม่ได้ออก และถึงแม้ว่าจะไม่สามารุแก้ไขโจทย์นั้นได้ เราอาจจะไปทำข้ออื่น ๆ ให้ถูกแทนข้อที่ผิดอันนี้เพียงข้อเดียว ซึ่งมันมีประโยชน์ต่อคะแนนสอบของเรามากเลยนะ!
รู้ไหมว่าทำไมการไม่ยึดติดกับโจทย์ที่เราแก้ไขไม่ได้ถึงสำคัญ
แน่นอนว่าเมื่อถึงเวลาเข้าจริงการมองข้ามโจทย์ที่อยู่ตรงหน้าเรานั้นไม่ได้ง่าย แต่ถ้ายิ่งใช้เวลานานในการแก้ไขโจทย์นั้น มันก็จะยิ่งค้างคาอยู่ในใจของเรา ต้องจำเอาไว้นะ!
ความจริงที่ว่าเวลาในห้องสอบคือทอง! ลองยอมแพ้กับโจทย์ที่เราไม่สามารถแก้ได้
ฝึกที่จะข้ามไปทำข้ออื่นแทนเพื่อที่จะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพในสนามสอบจริง แนะนำให้ฝึกโจทย์ที่เราสามารถทำได้, โจทย์ที่เราไม่สามารถทำได้
และลองฝึกทำโจทย์ชุดหนึ่งอย่างบ่อยครั้ง เขียนโจทย์ที่เราสามารถทำได้และกลับมาทำอีก!
#2. การฝึกฝนที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวเองในช่วงเวลาสอบ
ในบทความอันก่อนพี่ได้เคยเขียนเรื่องการทำตามจังหวะของร่างกายตัวเองในช่วงสอบนั้นมันสำคัญ! ดังนั้นอย่างที่เคยได้บอกไปว่าช่วงเวลาก่อนหนึ่งเดือนให้เราตื่นตัวในช่วงเวลาสอบและปรับการนอนหลับให้เพียงพอในตอนกลางคืน (สำหรับเพื่อน ๆ ที่ยังไม่เคยได้อ่าน อย่างน้อยตอนนี้ก็ลองไปอ่านกันดูนะ! Link>)
แต่ถามว่าเนื้อหาจะเหมือนเดิมหรอ? ไม่นะ! สิ่งที่จะบอกในวันนี้ไม่เพียงแต่การตื่นตัวระหว่างการสอบ แต่ยังมีการฝึกฝนเพื่อรักษาสมาธิของตัวเองในช่วงเวลาสอบ 90 นาที
ความจริงแล้วโดยปกติพวกเราะจะสามารถตั้งสมาธิได้อย่างเต็มที่ไม่ถึง 50 นาที... สักประมาณ 40-45นาที? แต่เวลาสอบเป็นสองเท่าคือ 90 นาทีเลยใช่ไหม?
ถ้าเราเว้นเวลาในการตรวจสอบโจทย์อีกครั้งและเขียนคำตอบลงไปในกระดาษสัก 10 นาที เราจะสามารถจดจ่อได้โดยไม่ขาดตกบกพร่องในเวลาที่เหลืออีก 80 นาทีไหมนะ?
ถ้าหากเราไม่สามารถจดจ่อสมาธิ, เลือกคำตอบที่ผิด, คำนวณผิด หรือทำผิดพลาดไปอย่างน่าเสียดาย มันคงจะเสียใจน่าดูเลย! เพราะฉะนั้นพวกเราควรฝึกฝนเพื่อที่จะจดจ่อให้ได้ภายใน 90 นาที แต่เราจะสามารถทำการฝึกได้อย่างไร? สิ่งที่จำเป็นในเวลาแบบนี้คือการจับเวลาและการสอบแบบจำลอง! แนะนำการแก้โจทย์ปัญหาที่เหมือนกันกับข้อสอบภายในเวลา 90 นาที (สำหรับพี่แก้ว พี่ได้ฝึกใช้เวลา 85 นาที เผื่อเวลาให้ตัวเองได้ประหม่าสัก 5 นาทีในวันสอบจริง)
ลองจับเวลา, ทำโจทย์ที่ให้มาทั้งหมดและทำไปจนถึงการเขียนคำตอบลงในกระดาษ ถ้าหากเราฝึกฝนในการแก้โจทย์ปัญหาอย่างซ้ำ ๆ จดจ่ออยู่กับสมาธิอย่างตั้งใจในช่วงเวลาสักระยะหนึ่ง
ร่างกายของเราก็จะจำสภาพนั้นและเราก็จะสามารถจดจ่อได้ตลอดเวลา 90 นาที การทำแค่ครั้งหรือสองครั้งอาจจะยังไม่เพียงพอมากเท่าไร ดังนั้นพี่จึงแนะนำให้น้อง ๆ ลองฝึกทำดูหลายๆ ครั้งนะ การฝึกนี้กับการสอบจริงมีความแตกต่างกันมาก ๆ เลย!
อาจจะมีอยู่หลายครั้งที่เขียนคำตอบลงในกระดาษคำตอบผิดพลาดไปได้ เพราะงั้นในตอนที่เราฝึกฝนก็อย่าลืมที่จะฝึกเขียนคำตอบลงไปในกระดาษคำตอบด้วยล่ะ!
เป็น 2 วิธีที่ง่ายกว่าที่คิดใช่ไหมล่ะ? แต่ว่ายังมีนักเรียนอีกหลายคนที่ยังไม่รู้ถึงความสำคัญของวิธีนี้กันอยู่ด้วยล่ะ
อย่าลืมว่าแทนที่เราจะพยายามจดจ่ออยู่กับโจทย์หนึ่งข้อ การพยายามทำให้โจทย์ที่เรารู้นั้นไม่ผิดสำคัญกว่า
พี่ กระจก
mentor
พี่ที่แสน perfect ของทาง mega ที่คอยอัพเดตข่าวสารใหม่ ๆ ให้น้องๆไม่ตกเทรน ได้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด
- #TCAS66
- # A-Level
- #STUDY TIP
- #TEST TIP
- #ก็ต้องรู้สิ่งนี้
- #TCAS
- #ความลับ