เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ

ข้อมูลการศึกษา

HOT News บทความที่คุณต้องการทั้งหมด
หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์ TEP / TEPE คืออะไร
  • 17.03.2566

หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์ TEP / TEPE คืออะไร



หลักสูตรใหม่มาแรง จากสถาบันการศึกษาชื่อดัง หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์   TEP / TEPE ซึ่งเป็นหลักสูตรการศึกษาของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ที่กำลังได้รับความสนใจจากนักศึกษาในยุคปัจจุบันนี้ หลายคนสงสัยว่าหลักสูตรการเรียนนี้มีเนื้อหาแตกต่างจากการเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ภาคปกติอย่างไร วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับคณะนี้กัน แต่สำหรับใครที่อยากจะรู้ว่าตัวเองจะสามารถเข้าศึกษาต่อในคณะนี้ได้หรือไม่  ก็จะต้องลองประเมินทักษะความรู้ทางวิชาการของตัวเอง และที่สำคัญทักษะการใช้งานและการสื่อสารภาษาอังกฤษต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ดีเยี่ยม 

หากน้อง ๆ ต้องการที่จะพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษให้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี สามารถสื่อสารและเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษได้ ขอแนะนำให้เข้ามาเพิ่มเติมทักษะที่ megastudy  เรามีครูผู้มีความชำนาญ ที่พร้อมจะมอบทักษะความรู้ทางการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนให้กับน้อง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับรองว่าน้อง ๆ จะสามารถเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยภาคอินเตอร์ได้ทุกคณะวิชาที่อยากเรียน รวมถึงคณะที่เรากำลังจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกันในวันนี้ด้วย

 

มาทำความรู้จักกับ หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ในปัจจุบันนี้คณะการเรียนที่ได้รับความนิยมมาแรงมากที่สุดสำหรับเด็กสายวิทย์ ก็คงจะต้องยกให้คณะวิศวกรรมศาสตร์ เราแน่นอนว่าเป็นสายอาชีพที่ทำงานได้หลากหลาย และมีความรู้ทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆได้ และยังเป็นสายอาชีพที่กำลังเป็นที่ต้องการบุคลากรมากในยุคปัจจุบันนี้ด้วย แต่ยังมีอีกหนึ่งหลักสูตร ที่พร้อมจะพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความชำนาญในสาขาวิชาวิศวกรรม ซึ่งนั่นก็คือ  หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์ TEP / TEPE หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งได้ว่าเป็นหลักสูตรภาคอินเตอร์ จากสถาบันการศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งหลักสูตรนี้มีเป้าหมายเพื่อที่ต้องการจะสร้างวิศวกรไทยให้มีศักยภาพในระดับของนานาชาติ มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เป็นผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง และยังช่วยขับเคลื่อนโลกยุคใหม่ ทั้งระบบเศรษฐกิจของในประเทศและต่างประเทศ โดยตลอดหลักสูตรการเรียนนี้จะใช้ภาษาอังกฤษเป็นการสื่อสาร

ดังนั้นน้อง ๆ ที่สนใจอยากจะเข้าเรียนต่อในหลักสูตร TEP / TEPE ก็จะต้องมีพื้นฐานการใช้งานภาษาอังกฤษอยู่ในเกณฑ์ที่ดีพอสมควรเลยทีเดียว

  

เรียนจบ  หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สามารถประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง 

สำหรับสายอาชีพที่น้อง ๆ สามารถจะทำได้หลังจากที่เรียนจบ  หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์  TEP / TEPE บอกเลยว่ามีมากมายด้วยกัน ซึ่งทาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  ได้คิดคำนวณมาแล้วว่าสาขาวิชานี้จะพัฒนาบุคลากรที่ตอบโจทย์กับความต้องการของสังคมในยุคปัจจุบันได้อย่างดี ดังนั้นน้อง ๆ ที่ตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรนี้ มั่นใจได้เลยว่าจะสามารถเรียนจบออกไปและประกอบอาชีพในสายงานต่างๆได้อย่างมีคุณภาพแน่นอน ไม่ว่าคุณจะเป็นนักวิศวกรรมเคมี นักวิศวกรรมโยธา หรือการทำธุรกิจส่วนตัว และยังมีอีกหลากหลายสาขาอาชีพที่น้อง ๆ สามารถปฏิบัติงานได้ 

โดยสิ่งที่สำคัญและข้อดีของการจบการเรียนในหลักสูตรนี้คือ ทักษะการใช้งานภาษาอังกฤษของน้อง ๆ จะสามารถติดต่อกับนานาชาติได้ ทำให้มีโอกาสเปิดกว้างในการประกอบอาชีพได้เพิ่มขึ้น และยังมีส่วนที่จะช่วยพัฒนาประเทศให้ก้าวไปข้างหน้าได้อีกด้วย

 

สาขาน่าเรียน ไม่ตกงานใน  หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์   

เรามาดูกันว่าสาขาวิชาน่าเรียนที่เปิดสอนใน  หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์ TEP / TEPE มีสาขาวิชาอะไรบ้าง  รับรองว่าเรียนจบหลักสูตรต่อไปนี้ไม่ตกงานแน่นอน เพราะอย่างที่เราได้บอกไปแล้วข้างต้นว่าทาง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้จัดรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนให้ตอบโจทย์กับสังคมในยุคปัจจุบัน เพื่อรองรับการประกอบอาชีพของนักศึกษาในอนาคต ซึ่งสาขาวิชาที่ได้เปิดสอนก็ประกอบไปด้วย


 

1. สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์  TEP / TEPE เมื่อจบการศึกษาในหลักสูตรนี้สามารถที่จะประกอบอาชีพเป็นวิศวกรเคมี ในโรงงานอุตสาหกรรมและหน่วยงานของรัฐและเอกชนได้

2. สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์  TEP / TEPE เมื่อเรียนจบการศึกษาผู้เรียนสามารถที่จะประกอบอาชีพเป็นนักวิศวกรโยธาได้

3. สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์  TEP / TEPE นักศึกษาที่จบการเรียนในหลักสูตรนี้ก็สามารถที่จะปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่วิศวกรรมเครื่องกล ของโรงงานอุตสาหกรรมได้หลากหลายรูปแบบ

4. สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า หลักสูตรในคณะวิศวกรรมศาสตร์  TEP / TEPE เมื่อเรียนจบแล้วสามารถที่จะปฏิบัติงานตำแหน่งวิศวกรไฟฟ้า ในหน่วยงานต่างๆได้

 

  • #Dek67 #TCAS67 #ALEVEL
prev คณะสัตวแพทย์ หนึ่งความใฝ่ฝันของนักเรียนสายวิทย์
next 8 วิธีเตรียมตัวใน การสอบ A-Level สำหรับเด็กปี 67