ดุริยางคศิลป์ จากสถาบันการศึกษาชื่อดัง จบแล้วทำงานอะไร
เอาใจนักเรียนที่ชื่นชอบสายดนตรีเป็นพิเศษ กับคณะการเรียน ดุริยางคศิลป์ ในสถาบันการศึกษาที่ได้รับความนิยมมาแรงเป็นอันดับ 1 ของสาขาวิชานี้ นั่นก็คือ มหาวิทยาลัยมหิดล ยื่น 1 ในเรื่องของการดนตรี
ปฏิเสธไม่ได้ว่าสาขาวิชาการดนตรีไม่ว่าจะเป็นดนตรีไทย หรือดนตรีสากล ก็ได้รับความสนใจจากกลุ่มวัยรุ่นในยุคปัจจุบันเป็นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว บางคนต่อยอดการเรียนดนตรีตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในวิชาชมรมหรือวิชาทางเลือก ด้วยการเรียนต่อในระดับมหาวิทยาลัยคณะที่เกี่ยวกับดนตรี เพื่อที่จะได้ประกอบอาชีพในสายงานที่ตัวเองรัก
และสำหรับวันนี้เราก็จะมาเอาใจคนที่รักดนตรี ด้วยการพาน้อง ๆ มาทำความรู้จักกับคณะการเรียนดุริยางคศิลป์ ของสถาบันการศึกษายอดนิยมอันดับ 1 ว่ามีเนื้อหาการเรียนอย่างไร และเมื่อเรียนจบแล้วสามารถที่จะประกอบอาชีพอะไรได้บ้าง
หลักสูตร ดุริยางคศิลป์ กับเนื้อหาการเรียนที่ไม่ใช่เรื่องง่าย
หลักสูตรของการเรียน ดุริยางคศิลป์ ใน มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในทักษะทางด้านของดนตรี เพื่อที่จะผลักดันเข้าสู่สากล และต้องการที่จะพัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพทั้งทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม
สำหรับการเรียนในหลักสูตรนี้เราจะเห็นได้ชัดว่าทางสถาบันการศึกษาได้มีการจัด open house อยู่บ่อยครั้ง เพื่อเป็นการแนะนำให้รู้จักเกี่ยวกับหลักสูตรดุริยางคศิลป์ โดยมีสาขาวิชาเอกให้เลือกเรียนมากถึง 7 สาขาวิชาด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นสาขาปฏิบัติดนตรีคลาสสิค สาขาดนตรี jazz ดนตรีสมัยนิยม ละครเพลง ธุรกิจดนตรี และยังมีอีกหลากหลายสาขาด้วยกัน บอกเลยว่าถ้าน้อง ๆ เป็นคนที่ชื่นชอบดนตรี หลักสูตรการเรียนนี้จะทำให้น้อง ๆ มีความสุขกับการเรียนได้อย่างแน่นอน
มีแค่ความชอบ เพียงพอหรือไม่กับสายการเรียน ดุริยางคศิลป์
เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนคงมีคำถามว่า สำหรับหลักสูตร ดุริยางคศิลป์ มีแค่ความชอบอย่างเดียวจะเพียงพอกับการเรียนจบในหลักสูตรนี้หรือไม่ นักศึกษาส่วนใหญ่ที่จบการศึกษาจาก มหาวิทยาลัยมหิดล ในหลักสูตรนี้ นอกจากจะมีความชอบแล้ว ยังต้องมีความมุ่งมั่นและความพยายามอีกด้วย เนื่องจากการเรียนรู้ในเรื่องของดนตรี ยังมีองค์ประกอบอื่นอีกมากมาย นอกเหนือจากการแค่เล่นดนตรีเป็น แต่น้อง ๆ ยังจะต้องรู้เกี่ยวกับประวัติและความเป็นมาของดนตรีแต่ละชนิด เพื่อที่น้อง ๆ จะได้นำความรู้ที่ได้นี้ไปประกอบอาชีพในอนาคตได้
ยิ่งถ้าน้อง ๆ มีพื้นฐานทักษะการเรียนรู้ทางด้านวิชาภาษาอังกฤษ น้อง ๆ ก็จะสามารถเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับดนตรีได้อีกมากมาย เนื่องจากทั้งงานวิจัยและองค์ความรู้ส่วนใหญ่ จะมีเป็นภาษาอังกฤษ ที่สำคัญน้อง ๆ ยังสามารถที่จะติดต่อชาวต่างชาติในการทำธุรกิจดนตรีได้อีกด้วย ถ้าอยากเพิ่มเติมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ แนะนำ megastudy สถาบันกวดวิชาที่น้อง ๆ จะได้ใช้ทักษะทั้งการสื่อสารแบบครบวงจร ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พูด อ่านและเขียน อัพสกิลภาษาอังกฤษได้ 100%
3 อาชีพมาแรงของนักศึกษา ดุริยางคศิลป์ ในหลักสูตรปริญญาตรี
มาถึงตอนนี้น้อง ๆ ที่มีความสนใจทางด้านดนตรีแน่นอนว่าจะต้องอยากเข้าศึกษาต่อใน มหาวิทยาลัยมหิดล คณะการเรียน ดุริยางคศิลป์ อย่างแน่นอน แต่การวางแผนในเรื่องของอนาคตก็เป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นหากน้อง ๆ ต้องการที่จะเลือกเรียนสาขาวิชาการดนตรีในระดับมหาวิทยาลัย ก็อย่าลืมวางแผนไว้ด้วยว่าในอนาคตน้อง ๆ อยากที่จะประกอบอาชีพในสายงานด้านไหน เพราะในปัจจุบันนี้กระแสการทำงานด้านดนตรีก็มีให้เลือกทำหลากหลายเลยทีเดียว วันนี้เราจึงได้ยก 3 อาชีพมาแรงของนักศึกษาจบใหม่จากสาขาวิชานี้มาแนะนำ ไม่ดูกันว่ามีอาชีพอะไรบ้าง
1. อาชีพนักดนตรี แน่นอนว่านักเรียนที่เรียนจบในหลักสูตรการเรียน ดุริยางคศิลป์ จะต้องเล่นดนตรีเป็น และในปัจจุบันนี้อาชีพนักดนตรีก็เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่อยู่ในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหาร หรือกิจกรรมบันเทิง รวมไปถึงน้อง ๆ ยังสามารถที่จะเข้าสู่วงการบันเทิงในสายงานด้านดนตรีได้ด้วย
2. ครู อาจารย์สอนวิชาดนตรี ทักษะความรู้ที่ได้จากหลักสูตรการเรียนใน ดุริยางคศิลป์ สามารถที่จะนำมาต่อยอดและเผยแพร่ให้กับนักเรียนได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะทำงานในโรงเรียนรัฐหรือเอกชน รวมไปถึงยังสามารถที่จะเป็นครูฟรีแลนซ์ที่สอนตามสถาบันดนตรีต่างๆได้อีกด้วย
3. เจ้าของกิจการด้านดนตรี หาน้อง ๆ มีทุนทรัพย์มากพอนักศึกษาส่วนใหญ่ที่จบการเรียนจากหลักสูตร ดุริยางคศิลป์ ก็มักจะเปิดธุรกิจเป็นของตัวเองไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องดนตรี หรือสถาบันดนตรี เพื่อที่จะพัฒนาศิลปินต่อไป