TPAT3 สอบอะไรบ้าง วิธีเตรียมตัวด่านแรกของน้องที่อยากเป็นวิศวะ
สำหรับน้องมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสายวิทย์-คณิต อาชีพวิศวะมักเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น้อง ๆ ใฝ่ฝันอยากจะประกอบอาชีพ ด้วยลักษณะของเนื้องาน
การแต่งกาย ภาพลักษณ์ หรือรายรับที่ได้ในแต่ละเดือน ล้วนเป็นแรงจูงใจให้อาชีพวิศวะกลายเป็นหนึ่งในอาชีพที่น้องใฝ่ฝัน และยิ่งด้วยสมัยนี้มีซีรีย์ ละครหยิบนำเรื่องราวการเรียนในคณะนี้ออกมาทำเป็นผลงาน ยิ่งทำให้มีน้อง ๆ หลายคนให้ความสนใจในคณะนี้มากยิ่งขึ้น ซึ่งถ้าหากน้อง ๆ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนลายคนไหนมีความสนใจอยากจะประกอบอาชีพนี้ น้อง ๆ ต้องเข้าศึกษาต่อในคณะวิศวกรรมศาสตร์ การที่น้อง ๆ จะสอบเข้าในคณะนี้ได้ ต้องใช้คะแนนสอบ TPAT 3 เป็นวิชาทดสอบความถนัดทางวิชาชีพที่เดิมคือชื่อ PAT3 นั้นเอง แต่ในส่วนของเนื้อหาที่ออกสอบ และความยากของข้อสอบจะต่างหรือเหมือนกันไหม วันนี้พี่ mega จะพาน้อง ๆ ไปหาคำตอบกัน
ทำความรู้จักกับ TPAT 3
Thai Professional Aptitude Test 3 หรือที่เรานิยมเรียกว่า TPAT 3 เป็นการทดสอบความถนัดทางด้านความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ถึงแม้จะชื่อ TPAT 3 แต่เนื้อหาที่ออกข้อสอบไม่ได้เหมือนกับ PAT 3 ไปทั้งหมด เพราะเนื้อหาที่นำมาออกข้อสอบเป็นการนำข้อสอบ PAT 2 และ PAT 3 มายุบรวมกันที่สำคัญคือข้อสอบ TPAT 3 ไม่ได้วัดความรู้วิชาการเพียงอย่างเดียว แต่ออกข้อสอบแนวประยุกต์ใช้ เพื่อวัดว่าน้อง ๆ มีความถนัดทางด้านนี้มากน้อยเพียงใด มีความรู้พื้นฐานที่สามารถเข้าไปในคณะนี้อย่างไม่ลำบากหรือไม่
เจาะลึกเนื้อหาข้อสอบ TPAT 3
ข้อสอบวิชา TPAT 3 จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ และความคิด ความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี
และวิศวกรรมศาสตร์
ซึ่งในส่วนแรก ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ข้อสอบจะออกเนื้อหาเกี่ยวกับตัวเลข มิติสัมพันธ์ รวมถึงเชิงกลและฟิสิกส์
ในส่วนของพาร์ทเชิงกลและฟิสิกส์ ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นพาร์ทเชิงกลและฟิสิกส์ ดังนั้น ข้อสอบในพาร์ทนี้จะเป็นการนำความรู้พื้นฐานด้านกลศาสตร์ในวิชาฟิสิกส์มาออกข้อสอบ อาจจะเป็นการประยุกต์ใช้ นำความรู้พื้นฐานด้านเชิงกลไปต่อยอด และในส่วนที่สอง ความคิด ความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
ในด้านความคิดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ข้อสอบในพาร์ทนี้จะเป็นลักษณะการคิดวิเคราะห์ ใช้ตรรกะตามหลักการทางวิทยาศาสตร์
และในด้านความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ เป็นพาร์ทเก็บคะแนนของใครหลายคนเลยก็ว่าได้ เพราะเนื้อหาข้อสอบของพาร์ทนี้เป็นความรู้รอบตัว
ไปจนถึงข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโนโลยี และวิศวกรรม เทคนิคการที่จะทำให้พาร์ทนี้กลายเป็นพาร์ทที่ง่ายก็คือ อัปเดตข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีอยู่เสมอ
คะแนนพาร์ทนี้ก็ไม่หนีน้อง ๆ ไปไหนอย่างแน่นอน
สำหรับน้อง ๆ มัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความสนใจอยากจะประกอบอาชีพวิศวกร น้อง ๆ ต้องทราบอย่างแน่นอนว่าถ้าอยากจะเรียนคณะนี้ให้ได้ดี เรียนแล้วไปได้ไกล น้อง ๆ จะต้องมีความชื่นชอบในวิชาฟิสิกส์เป็นทุนเดิม เพราะ ในเนื้องานของอาชีพวิศวกรต้องใช้ความรู้ด้านฟิสิกส์เป็นพื้นฐาน การทำงานจึงจะราบรื่น ประสบความสำเร็จ
แต่พี่ mega ก็เชื่อว่ายังมีใครหลายคนที่อยากจะเป็นวิศวกร แต่ไม่เก่งฟิสิกส์เลย ไม่เป็นไรเลย ในเมื่อเรารู้จักตัวเองมากขึ้น ก็เป็นการดี ที่เราจะไปศึกษาเนื้อหาวิชาฟิสิกส์เพิ่มเติม ให้เรามั่นใจมากขึ้น สามารถสอบติด และเรียนวิศวะได้อย่างไม่มีปัญหา จบออกมาเป็นวิศวกรมืออาชีพ ประสบความสำเร็จในอาชีพนี้อย่างแน่นอน