วิศวปิโตรเลียม เรียนอะไรบ้าง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาปิโตเลียม เป็นอีกหนึ่งสาขาที่น้อง ๆ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายให้ความสนใจ อยากจะเข้า
ศึกษาต่อเป็นจำนวนมาก เพราะเป็นอาชีพที่มีผลตอบแทนที่ดี ทั้งเงินเดือน สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ทั้งการรักษา ประกันชีวิต เหตุผลที่
อาชีพนี้มีผลตอบแทนที่ดีและได้สิทธิประโยชน์ อาจเป็นเพราะสภาพความเสี่ยงในการทำงาน อย่าลืมว่าการขุดเจาะปิโตเลียมใน
ประเทศไทย ต้องทำงานในกลางทะเลอ่าวไทย ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศ ระดับน้ำทะเล แถมยังทำงานที่เกี่ยวกับเชื้อเพลิง ทำให้มี
โอกาสที่จะเกิดอุบัติเหตุได้โดยง่าย และไปทำงานในแต่ละครั้งต้องจากบ้าน จากครอบครัวไปนาน ใช้ชีวิตยากลำบากพอสมควร
ด้วยความเสี่ยงและเหตุผลอื่น ๆ ทำให้อาชีพนี้ได้ผลตอบแทนที่ดี และเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่มีความท้าทาย เลยทำให้น้อง ๆ หลายคน
สนใจจากจะเข้าศึกษาต่อ วันนี้พี่ mega ขออาสาพาน้อง ๆ ไปเจาะลึกการเรียนเกี่ยวกับสาขานี้กัน
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาปิโตรเลียมเรียนอะไรบ้าง
คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาปิโตรเลียมเหมาะสำหรับน้อง ๆ ที่มีความสนใจปิโตรเลียม น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับขั้นตอน
การผลิตปิโตรเลียมและน้ำมันทั้งหมด เริ่มตั้งแต่การสำรวจหาแหล่งก๊าซธรรมชาติ วางแผนและออกแบบการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติ
รวมไปถึงออกแบบกระบวนการผลิตน้ำมันที่ได้มาจากปิโตรเลียม เรียกได้ว่าเรียนกระบวนการผลิตปิโตรเลียมตั้งแต่ต้นน้ำยัน
ปลายน้ำเลยทีเดียว
วิชาเรียนที่น่าสนใจ
ธรณีวิทยาทั่วไป
อย่างที่เราทราบกันดีว่าปิโตรเลียมที่เราใช้ในปัจจุบันค้นพบจากใต้ดิน การที่เราจะทำการขุดเจาะ เราต้องศึกษาข้อมูลทาง
ด้านธรณีวิทยาเพื่อทำการวิเคราะห์ปัจจัยหลายอย่าง ทั้งความคุ้มค่า ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นในอนาคต วิชานี้น้อง ๆ จะได้เรียนเกี่ยวกับ
ธรณีวิทยาทั้งหมดแบบรอบด้าน
การออกแบบหลุมปิโตรเลียม
น้อง ๆ จะได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบหลุมปิโตรเลียมให้มีความเหมาะสมกับแหล่งที่ขุดเจาะ และออกแบบให้หลุมปิโตรเลียม
มีความแข็งแรง ทนทานต่อสภาพการใช้งาน และมีความปลอดภัยกับผู้ปฎิบัติงาน
เรียนจบวิศวกรรมปิโตรเลียม ทำงานอะไรได้บ้าง
สำหรับอาชีพวิศวกรปิโตรเลียม น้อง ๆ สามารถทำงานได้ 2 สาย คือ
1. สายการผลิต น้อง ๆ จะได้ขึ้นแท่นขุดเจาะกลางทะเล ออกปฎิบัตงานในภาคสนาม ทำหน้าที่จัดการและควบคุมการผลิตปิโตรเลียม
และก๊าซธรรมชาติ
2. สายสำนักงาน น้อง ๆ จะทำงานวางแผน แปลข้อมูล วิเคราะห์ เป็นหลัก เปรียบเสมือนเป็นฝ่ายหลังบ้าน ดูแลความเรียบร้อยใน
กระบวนการผลิตนั่นเอง