ความเหมือนที่แตกต่างของ A-LEVEL คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 และ 2
A-LEVEL หรือ Applied Knowledge Level เป็นการทดสอบวัดความรู้เชิงวิชาการ พัฒนาและต่อยอดมาจาก 9 วิชาสามัญ
เป็นข้อสอบกลางที่ใช้ในการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของประเทศไทย นอกจาก ALEVEL แล้วยังมี TPAT และTGAT ที่น้อง ๆ ต้องสอบเพื่อใช้
คะแนนยื่นเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งตัวข้อสอบ เนื้อหา และการให้คะแนนต่างจากข้อสอบปีก่อน ๆ ไม่มากนัก ทั้ง ALEVEL และ 9 วิชาสามัญ
จะเป็นเนื้อหาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6 โดย ALEVEL จะมีทั้งหมด 10 วิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1
คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ภาษาไทย สังคมศึกษา ภาษาอังกฤษ และภาษาต่างประเทศ (ฝรั่งเศส / เยอรมัน / จีน /
ญี่ปุ่น / บาลี / เกาหลี) แต่ใน 9 วิชาสามัญ จะไม่มีวิชาภาษาต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าข้อสอบ ALEVEL และ 9 สามัญ มีทั้งส่วนที่แตกต่างกัน
และส่วนที่คล้ายกัน การเตรียมตัวสอบจึงเป็นสิ่งที่สำคัญอบ่างยิ่ง
A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1และ2 คืออะไร?
A-Level ทั้งวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์1 และ คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 นั้น จะเน้นการประยุกต์ความรู้เชิงวิชาการของเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ ม.4-6 และออกไม่เกินหลักสูตรการเรียน (สสวท.) ข้อสอบมี 2 รูปแบบคือ ข้อสอบปรนัย มี 25 ข้อ
75 คะแนน ข้อสอบอัตนัย มี 5 ข้อ 25 คะแนน มีทั้งหมด 30 ข้อ 100 คะแนน ใช้เวลาในการทำข้อสอบ 90 นาที โดยที่
– A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 1 เนื้อหาที่ออกข้อสอบจะนำเนื้อหาวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานและคณิตศาสตร์เพิ่มเติมมาประยุกต์ เนื้อหาจะ
เน้นไปทางคณิตศาสตร์เพิ่มเติมมากกว่า เนื้อหาที่ออกสอบมีเรื่องกำหนดการเชิงเส้น, แคลคูลัส, ลำดับและอนุกรม, ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชัน,
สถิติ, การนับ, ความน่าจะเป็น, จำนวนเชิงซ้อน, เวกเตอร์, ตรีโกณมิติ, ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียลและลอการิทึม, เรขาคณิตวิเคราะห์และ
ภาคตัดกรวย, ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน, เมทริกซ์, ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น, จำนวนจริง, การให้เหตุผล, ตรรกศาสตร์, เซต
– A-Level คณิตศาสตร์ประยุกต์ 2 เนื้อหาที่ออกข้อสอบจะนำเนื้อหาคณิคศาสตร์พื้นฐานมาประยุกต์ เนื้อหาที่ออกข้อสอบมีเรื่องกำหนดการ
เชิงเส้น, แคลคูลัส, ลำดับและอนุกรม, ความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชัน, สถิติ, ความน่าจะเป็น, จำนวนเชิงซ้อน, เวกเตอร์, ตรีโกณมิติ, ฟังก์ชันเอกซ์
โพเนนเชียลและลอการิทึม, เรขาคณิตวิเคราะห์และภาคตัดกรวย, ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน, เมทริกซ์, ทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น, จำนวนจริง,
การให้เหตุผล, ตรรกศาสตร์, เซต