เตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย TCAS รอบ 1: คู่มือสำหรับความสำเร็จ
การสอบเข้ามหาวิทยาลัยถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการก้าวสู่อนาคตที่ต้องการ แต่น้องๆ
หลายคนอาจประสบปัญหาไม่อยากอ่านหนังสือสอบเข้ารอบ 3 แต่ก็ไม่มีโควตารอบ 2 ที่สามารถยื่นได้
หากน้องๆ คนไหนกำลังเจอปัญหานี้ การยื่นเข้ามหาวิทยาลัยตั้งแต่รอบที่ 1 คือทางออกสำหรับน้องๆ !
รอบที่ 1 หรือรอบ Portfolio แตกต่างจากรอบอื่น ๆ เพราะเน้นการพิจารณาจากผลงาน กิจกรรม และประสบการณ์ที่น้องๆ
ได้ทำมาเป็นหลัก ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีที่น้องๆ จะได้แสดงศักยภาพได้อย่างเต็มที่
บทความนี้พี่ Megacare จะนำเสนอแนวทางที่จำเป็นในการเตรียมตัวสำหรับรอบ Portfolio ของระบบ TCAS ไปดูกันเลย !
1. ค้นหาตัวเอง
สิ่งที่น้องๆ ควรทำเป็นอันดับแรกในการเตรียมตัวสอบเข้ารอบที่ 1 คือ ค้นหาความชอบและตัวตนของตัวเอง น้องๆ
ต้องตอบตัวเองให้ได้ว่าน้องมีความถนัดในด้านใด เหมาะกับคณะแบบไหน อยากทำอะไรในอนาคต
การค้นหาตัวเองไม่เพียงแต่ช่วยให้น้องๆ สามารถเลือกหลักสูตร คณะและมหาวิทยาลัยที่เหมาะสมกับตัวเองได้ แต่ยังเป็นการช่วยให้น้องๆ
รู้จักตัวเองและสามารถสร้างผลงานและกิจกรรมที่เป็นเอกลักษณ์และน่าสนใจมากขึ้น
2. ศึกษาข้อมูลคณะและมหาวิทยาลัยที่น้องๆ อยากเข้า
หลังจากที่น้อง ๆ เลือกคณะที่ต้องการเข้าศึกษาได้แล้ว สิ่งสำคัญต่อไปคือการตรวจสอบรายละเอียดและเงื่อนไขของคณะนั้น ๆ อย่างละเอียด
เพื่อให้มั่นใจว่าน้อง ๆ มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพราะแม้จะมี Portfolio ที่สวยงามและน่าสนใจ
แต่หากคุณสมบัติไม่ครบตามที่คณะต้องการ อาจจะทำให้เสียสิทธิ์ในการพิจารณาได้เลย หรือบางคณะอาจไม่ได้เปิดรับสอบเข้ารอบที่ 1
โดยน้อง ๆ สามารถเช็กข้อมูลและเงื่อนไขต่าง ๆ ได้จากเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยหรือผ่านระบบ mytcas การที่น้องๆ
ศึกษาข้อมูลจะช่วยให้จะช่วยให้น้อง ๆ วางแผนได้อย่างถูกต้องและสร้างผลงานได้อย่างถูกจุด
3. วางแผน
การวางแผนจะช่วยทำให้น้องๆ เห็นเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น อย่างแรกที่ควรทราบคือกำหนดการการเปิดรับสมัครรอบที่ 1 ของคณะที่น้อง ๆ สนใจ
หลังจากศึกษาและทราบกำหนดการที่ชัดเจนแล้วว่าจะเปิดรับสมัครเมื่อไหร่ หมดเขตเมื่อไหร่ น้องๆ จะสามารถวางแผนได้ว่าจะต้องเก็บกิจกรรมอะไรบ้าง จะสร้างผลงานกี่ขิ้น เพื่อให้ทันเวลา
4. รวบรวมผลงาน
การเตรียม Portfolio ต้องเริ่มจากการรวบรวมผลงาน โดยเงื่อนไขและเกณฑ์ของแต่ละคณะ แต่ละมหาวิทยาลัยก็จะมีความแตกต่างกัน เช่น
คะแนน: เกรดเฉลี่ย, ผลการสอบวัดความรู้ต่างๆ เช่น IELTS
กิจกรรม: การเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะนั้นๆ , โครงการพิเศษ, เข้าค่าย
ผลงาน: งานวิจัย, ผลงานศิลปะ, ผลงานเขียน
ประสบการณ์: การฝึกงาน, ประสบการณ์การทำงาน, การทำกิจกรรมอาสาสมัคร
5. ทำ Portfolio ให้น่าสนใจ
portfolio เป็นความประทับใจแรกของคณะกรรมการ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้น้องโดดเด่นและแตกต่างจากคนอื่น
การที่ portfolio ของน้องมีความน่าสนใจ มีความเป็นตัวเอง จะช่วยให้คณะกรรมการมองเห็นและสนใจในตัวน้องมากขึ้น
โดยภายใน portfolio จะต้องแสดงความสามารถและศักยภาพของตนเอง ตั้งแต่ผลการเรียน ผลงานในกิจกรรมต่าง ๆ
ผลงานพิเศษที่ทำรวมถึงแสดงให้คณะกรรมการเห็นถึงความสนใจและเป้าหมายในอนาคตของน้องๆ
สอดคล้องกับคณะที่อยากเรียน โดยต้องจัดเนื้อหาให้เป็นสัดส่วน ใช้ภาษาให้ถูกต้องตามหลักภาษาและระดับภาษา