ทักทายน้อง ๆ สายศิลป์ ทุกคนนะค้า พี่ mega เองนะในวันนี้พี่ mega จะมาในบทความ 12 คณะยอดฮิต สำหรับ น้อง ๆ ม.ปลายสายศิลป์ ไม่ว่าจะศิลป์ภาษา หรือ ศิลป์คำนวณ เป็น Guide แนะนำน้อง ๆ กับคณะยอดฮิตโดยเฉพาะ ถ้าหากน้อง ๆ พร้อมกันแล้วเชิญอ่านรายละเอียดบทความด้านล่างกันได้เลย และก่อนจะไปอย่าลืมติดตามบทความดี ๆได้ที่ www.megastudyth.com น้าาา
รวม 12 คณะยอดฮิตที่เด็กสายศิลป์อยากเข้า พร้อมสายอาชีพที่เกี่ยวข้อง
เมื่อขึ้นมัธยมปลายแล้ว จะเป็นช่วงเวลาที่น้องนักเรียนต้องตัดสินใจว่าตัวเองมีความชอบหรือความถนัดในด้านใด เพื่อที่จะได้เลือกเส้นทางศึกษาต่อ ซึ่งประเทศไทยมีแผนการเรียนให้เลือกหลายสาย แบ่งออกเป็น 2 สายหลักๆ คือ สายศิลป์ และสายวิทย์ เช่น สายวิทย์-คณิต สายศิลป์-คำนวณ สายศิลป์-ภาษา เป็นต้น โดยน้องๆ ควรเลือกเรียนในสิ่งที่อยากเรียน หรือมีความถนัด
ดังนั้น "megastudy” จึงอยากชวนน้องๆ มาทำความรู้จักกับสายศิลป์กันก่อน มาดูกันว่าสายศิลป์มีอะไรบ้าง การเรียนสายศิลป์ภาษา หรือศิลป์คำนวณเข้าคณะอะไร และทำอาชีพอะไรได้บ้าง ก่อนตัดสินใจเลือกสายการเรียนที่จะเป็นเส้นทางการศึกษาต่อไปสู่ในระดับมหาวิทยาลัย
ตัวเลือกสายศิลป์มีอะไรบ้าง
แผนการเรียนสายศิลป์ที่น้องๆ เคยได้ยินบ่อยๆ รู้ไหมว่ามีตัวเลือกถึง 3 สาย ได้แก่ ศิลป์คำนวณ ศิลป์ภาษา และศิลป์สังคม ซึ่งแต่ละสายการเรียนจะมีจุดเด่นที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีอะไรบ้างและน่าสนใจแค่ไหน มาดูกันเลย
ศิลป์คำนวณ
ศิลป์-คำนวณ เป็นแผนการเรียนสายศิลป์ที่จะเน้นวิชาภาษาอังกฤษกับวิชาคณิตศาสตร์เป็นหลัก โดยภาษาอังกฤษจะเรียนตั้งแต่ระดับพื้นฐานไปจนถึงระดับยาก เริ่มต้นฝึกฝนตั้งแต่ทักษะการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และเรียนเจาะลึกถึงไวยากรณ์เลยทีเดียว ส่วนคณิตศาสตร์นั้นเป็นอีกวิชาที่ต้องเน้นเรียน เนื้อหามีระดับความยากเท่ากับสายวิทย์-คณิต ซึ่งวิชาอื่นๆ เช่น วิทยาศาสตร์ สายศิลป์-คำนวณก็ยังมีเรียนอยู่ แต่จะไม่ได้มีชั่วโมงเรียนเยอะ และเนื้อหาไม่เข้มข้นเทียบเท่ากับที่สายวิทย์เรียนโดยตรง
ศิลป์ภาษา
ศิลป์-ภาษา แผนการเรียนสายนี้จะเน้นเรียนภาษาอังกฤษกับภาษาที่ 3 ที่น้องๆ เป็นคนเลือกเอง เช่น ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาเยอรมัน เป็นต้น โดยเรียนภาษาอังกฤษและภาษาที่ 3 ตั้งแต่ระดับง่ายไปจนถึงยากเช่นเดียวกันกับสายศิลป์-คำนวณ และยังต้องเรียนวิชาอื่นๆ ในระดับพื้นฐาน แต่ไม่ได้เจาะเนื้อหาแยกเป็นรายวิชาเพิ่มเติม
ศิลป์สังคม
แผนการเรียนสายศิลป์-สังคม จะเน้นเรียนหมวดวิชาภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และสังคมศึกษา เนื้อหาที่เรียนครอบคลุมถึงเรื่องประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ การเมืองการปกครอง กฎหมาย รวมถึงปรัชญา ซึ่งสายศิลป์-สังคม เป็นสายศิลป์อีกแบบที่มีเฉพาะในบางโรงเรียนเท่านั้น
ส่อง 12 คณะน่าเรียนที่สายศิลป์สามารถเข้าได้
น้องๆ นักเรียนคงอยากรู้แล้วล่ะสิว่าเรียนสายศิลป์-ภาษา ศิลป์-คำนวณจะเข้าคณะอะไรได้บ้าง และถ้าเรียนสายศิลป์จะสามารถทำอาชีพอะไรได้บ้าง มาส่อง 12 คณะน่าเรียนสำหรับสายศิลป์ พร้อมอาชีพน่าทำหลังเรียนจบกันเถอะ
1. คณะนิติศาสตร์
คณะนิติศาสตร์เป็นหนึ่งในคณะที่ได้รับความนิยมสูงโดยเฉพาะในกลุ่มน้องๆ ที่มาจากแผนการเรียนสายศิลป์ โดยนิติศาสตร์จะเรียนเกี่ยวกับตัวบทกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับต่างๆ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ทางด้านกฎหมาย จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยโดยเฉพาะด้านภาษาและการสื่อสาร จึงเป็นคณะที่เน้นการอ่านหนังสือเพื่อจำหลักกฎหมาย ใช้เหตุผลในการคิดวิเคราะห์ และตีความทางด้านกฎหมาย คณะนิติศาสตร์ยังไม่มีการแบ่งสาขาชัดเจน แต่สามารถเลือกเรียนตามความสนใจได้ โดยทั่วไปแบ่งเป็นกฎหมายเฉพาะด้าน ดังนี้
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะนิติศาสตร์
ผู้พิพิากษา/ตุลาการ
อัยการ
ทนายความ
ที่ปรึกษากฎหมาย/นิติกร
นักกฎหมายประจำบริษัท
รับราชการ
2. คณะรัฐศาสตร์
คณะรัฐศาสตร์เรียนเกี่ยวกับหลักการบริหารงานรัฐ ปรัชญาการเมืองการปกครอง รวมไปถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ เนื้อหาที่เรียนส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะสหวิทยาการ หรือการนำศาสตร์ความรู้หลายๆ ด้านมาศึกษาประกอบร่วมกัน เพื่ออธิบายสภาวะสังคมต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เป็นคณะที่เมื่อผู้จบการศึกษาไปทำงานที่เกี่ยวข้องแล้วจะส่งผลโดยตรงต่อประเทศ มีสาขาต่างๆ ดังนี้
สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
สาขาการระหว่างประเทศ
สาขาบริหารรัฐกิจ สาขารัฐประศาสนศาสตร์
สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา
สาขางานยุติธรรมและความปลอดภัย
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะรัฐศาสตร์
งานราชการ เช่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ปลัดอำเภอ เจ้าหน้าที่ด้านการปกครองในหน่วยราชการต่างๆ
งานรัฐวิสาหกิจ เช่น เจ้าหน้าที่ในตำแหน่งด้านบริหาร วางแผน จัดการข้อมูล และวิจัย
งานบริษัทเอกชน นำความรู้มาปรับใช้กับการทำงานได้ ส่วนมากเป็นตำแหน่งด้านการวิเคราะห์ การวางแผนนโยบายต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่ HR นักวิเคราะห์โครงการ นักวิเคราะห์ระบบงาน นักบริหารองค์การระดับสูง
3. คณะเศรษฐศาสตร์
สำหรับน้องๆ ที่มีแผนเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโดยเฉพาะคนที่กำลังสงสัยว่าสายศิลป์คำนวณเข้าคณะอะไรได้บ้างนั้น คณะเศรษฐศาสตร์คงจะเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง โดยเป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับวิธีการจัดสรรทรัพยากร การผลิต การกระจายสินค้า และพฤติกรรมของมนุษย์ ศึกษาเนื้อหาความรู้ทั้งเศรษฐกิจมหาภาค และเศรษฐกิจจุลภาค เป็นการวิเคราะห์ภาพรวมของเศรษฐกิจตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้บริโภค เพื่อหานโยบาย หาเหตุผล และคิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจที่อาจเกิดขึ้น คณะเศรษฐศาสตร์มีสาขาให้เลือกเรียนมากมาย ได้แก่
สาขาเศรษฐศาสตร์สหกรณ์
สาขาเศรษฐศาสตร์การพัฒนา
สาขาเศรษฐศาสตร์สาธารณะ
สาขาเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ / เศรษฐศาสตร์การจัดการ
สาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ
สาขาเศรษฐศาสตร์เกษตร
สาขาเศรษฐศาสตร์การเงิน
สาขาเศรษฐศาสตร์การคลัง
สาขาเศรษฐศาสตร์การพัฒนาและวางแผน
สาขาเศรษฐศาสตร์แรงงานและทรัพยากรมนุษย์
สาขาเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม
สาขาเศรษฐศาสตร์ทฤษฎีและการวิจัย / เศรษฐศาสตร์เชิงปริมาณ
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะเศรษฐศาสตร์
เจ้าหน้าที่บริหารกองทุน
นักวิเคราะห์แผนงานธนาคาร
นักวิเคราะห์ตลาด
นักวิเคราะห์โครงการ
เจ้าหน้าที่ธนาคาร
พนักงานการเงินบริษัท เงินทุนหลักทรัพย์
ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจ / การเงิน-การลงทุน
พนักงานราชการ ในกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจ การเงิน การคลัง การค้า
4. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี / คณะบริหารธุรกิจ
คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หรือคณะบริหารธุรกิจ เป็นคณะที่มีหลักสูตรเดียวกัน เพียงแต่สถาบันแต่ละแห่งใช้ชื่อไม่เหมือนกันเท่านั้น ซึ่งจะเรียนเกี่ยวกับลักษณะธุรกิจเอกชนทุกด้าน ทั้งการบัญชีและการบริหาร โดยการบัญชีจะเรียนเนื้อหาเกี่ยวกับบัญชีต้นทุน บัญชีการเงิน บัญชีภาษีอากร และการสอบบัญชี เป็นต้น ส่วนการบริหารจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการตลาด การเงิน การจัดการผลผลิต ทรัพยากรบุคคล โลจิสติกส์ และสารสนเทศ เป็นต้น โดยคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีหรือคณะบริหารธุรกิจ จะแบ่งหลักสูตรออกเป็น 2 หลักสูตร ได้แก่
หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
และหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
สาขาวิชาการธนาคารและการเงิน
สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางการจัดการ
สาขาวิชาการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์
สาขาวิชาการบริหารอุตสาหกรรมเดินทาง
สาขาวิชาการจัดการด้านการผลิตและการดำเนินงาน
สาขาวิชาการจัดการขนส่งระหว่างประเทศ
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีหรือคณะบริหารธุรกิจ
5. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์เรียนเกี่ยวกับการออกแบบกายภาพด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบอาคาร สิ่งก่อสร้าง การออกแบบภายใน การปรับแต่งสภาพแวดล้อม ตลอดจนการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดประโยชน์การใช้งานและความสวยงามที่ดีที่สุด โดยคำนึงถึงสภาพแวดล้อม วัสดุ และเทคโนโลยีก่อสร้าง เนื้อหาการเรียนจะเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ศิลปะ หลักการออกแบบงานสถาปัตยกรรม ฟิสิกส์ประยุกต์ ทฤษฎีการออกแบบ เป็นต้น คณะนี้มีสาขาวิชาให้เลือกเรียน ดังต่อไปนี้
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
สถาปนิก
ภูมิสถาปนิก
นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์
นักบริหารธุรกิจ
นักผังเมือง
นักวิเคราะห์แผนและนโยบาย
นักออกแบบอิสระ
6. คณะสังคมสงเคราะห์
คณะสังคมสงเคราะห์ เป็นหนึ่งในคณะที่ได้รับความสนใจไม่น้อยโดยเฉพาะน้องๆ ที่มาจากแผนการเรียนสายศิลป์และกำลังมองหาคณะที่ต้องการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย โดยสังคมสงเคราะห์จะเป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับสังคมและพฤติกรรมของมนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อสร้างสังคมที่ไม่กีดกันและไม่เลือกปฏิบัติ เป็นการพัฒนาคนและสังคมอย่างยั่งยืนตามหลักความเป็นธรรม โดยเนื้อหาจะเรียนรู้ทั้งทางทฤษฎี กระบวนการ การวิจัย และการฝึกฝนการปฏิบัติงาน เพื่อเป็นนักพัฒนาสังคมที่ดี พัฒนามนุษย์ให้เท่าทันและขับเคลื่อนสังคมได้ ซึ่งคณะสังคมสงเคราะห์มีสาขาที่เปิดให้เลือกเรียน ดังต่อไปนี้
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์
สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน
สาขาวิชาการบริหารงานกระบวนการยุติธรรม
สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ทางการแพทย์
สาขาวิชาการพัฒนาเด็ก เยาวชน และครอบครัว
สาขาวิชาการบริหารแรงงานและสวัสดิการ
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะสังคมสงเคราะห์
7. คณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์
คณะครุศาสตร์ หรือคณะศึกษาศาสตร์ จะเรียนรู้เกี่ยวกับหลักการหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนและการสอนของมนุษย์ เรียนตั้งแต่เนื้อหาที่จะนำไปสอน การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ การพัฒนาการศึกษา จิตวิทยาการสอน และวิธีการพัฒนามนุษย์ เป็นต้น เพื่อผลิตครูและพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีศักยภาพ โดยมีสาขาวิชาเอกให้เลือกเรียนได้ตามความสนใจถึง 10 สาขา ได้แก่
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะครุศาสตร์ หรือศึกษาศาสตร์
8. คณะอักษรศาสตร์ / คณะศิลปศาสตร์ / คณะมนุษยศาสตร์
คงจะถูกใจแผนการเรียนศิลป์ภาษาไม่น้อย เพราะหากถามว่าถ้าเรียนสายศิลป์ภาษาจะสามารถเข้าคณะอะไรได้บ้างนั้น คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ คงจะเป็นตัวเลือกแรกๆ ที่ถูกกล่าวถึง เพราะเป็นคณะที่เรียนด้านภาษาเป็นหลัก โดยจะมีความแตกต่างไปแต่ละคณะ ซึ่งคณะอักษรศาสตร์จะเรียนรวมไปถึงวัฒนธรรมที่แฝงอยู่ในภาษา เรียนรู้ประวัติศาสตร์และวรรณคดีที่สะท้อนให้เห็นค่านิยมของภาษานั้น คณะศิลปศาสตร์จะเรียนเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปและทักษะเชิงปัญญา เป็นการผสมผสานศิลปะวิทยาการแขนงต่างๆ เพื่อช่วยให้การเรียนรู้ด้านนี้มีความทันสมัยมากขึ้น และคณะมนุษยศาสตร์จะเรียนเกี่ยวกับสภาวะของมนุษย์ ผ่านการศึกษาด้านวรรณคดี วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ปรัชญา ศาสนา ทัศนศิลป์ และศิลปะการแสดง เป็นต้น คณะเหล่านี้มีการเรียนเจาะลึกแยกย่อยไปแต่ละสาขาวิชา ดังต่อไปนี้
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะอักษรศาสตร์ / คณะศิลปศาสตร์ / คณะมนุษยศาสตร์
รับราชการในหน่วยงานต่างๆ
นักเขียน / นักแปล / ล่าม
งานด้านสื่อมวลชน เช่น นักเขียนข่าว สารคดี
งานด้านการท่องเที่ยว เช่น มัคคุเทศก์ พนักงานต้อนรับในโรงแรม
งานด้านสำนักงาน เช่น เลขานุการ HR ประชาสัมพันธ์
งานด้านสายการบิน เช่น แอร์โฮสเตส สจ๊วต
เจ้าหน้าที่ในองค์กรระหว่างประเทศ
อาจารย์ คุณครู
นักวิชาการ / นักวิจัย
9. คณะนิเทศศาสตร์ / คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
คณะนิเทศศาสตร์หรือคณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน จะเรียนเกี่ยวกับศาสตร์ที่ว่าด้วยศิลปะการสื่อสารทุกประเภท ทุกระดับ เพื่อให้การสื่อสารของมนุษย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างเต็มที่ คณะนี้มีสาขาวิชาที่เปิดสอน 6 สาขา ได้แก่
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะคณะนิเทศศาสตร์ / คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน
นักข่าว / ผู้สื่อข่าว (หนังสือพิมพ์ นิตยสาร วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และสื่อออนไลน์)
กองบรรณาธิการ
นักเขียน / คอลัมนิสต์
นักประชาสัมพันธ์
นักวิจารณ์
ผู้ผลิตรายการวิทยุ / โทรทัศน์
ช่างภาพ
ผู้กำกับแสง สี เสียง และการแสดง
นักเขียนบท (Script Writer)
นักออกแบบสิ่งพิมพ์
นักหนังสือพิมพ์
10. คณะศิลปกรรมศาสตร์
ศิลปกรรมศาสตร์ เป็นคณะที่เรียนเกี่ยวกับศิลปะ และประยุกต์ศิลป์ โดยเนื้อหาจะเรียนทฤษฎี ประวัติ เทคนิคการสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะต่างๆ เพื่อนำความรู้มาประยุกต์ใช้ และอนุรักษ์ศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ รวมถึงการสร้างสรรค์ศิลปะรูปแบบใหม่ๆ ให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป สาขาวิชาของคณะศิลปกรรมศาสตร์มีดังต่อไปนี้
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะศิลปกรรมศาสตร์
11. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
ไม่ใช่แค่คณะสายวิทย์-คณิตเท่านั้นแต่คณะเทคโนโยสารสนเทศยังเป็นคณะที่น้องๆ แผนการเรียสายศิลป์ตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ โดบคณะเทคโนโลยีสารสนเทศจะเรียนเกี่ยวกับทางด้านระบบและเทคโนโลยีสารสนเทศเบื้องต้น การเขียนโปรแกรม การเรียนทางด้านกราฟิก และศาสตร์อื่นๆ ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่กำลังเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบัน เช่น ระบบเครือข่ายเชิงประยุกต์ การบริหารการจัดการโครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์กร การตลาดด้านอิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งมีสาขาต่างๆ ดังนี้
สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาวิชาสารสนเทศการแพทย์
สาขาวิชาเกมและสื่ออินเทอร์แอคทีฟ
สาขาวิชาวิศวกรรมนวัตกรรมคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
สาขาวิชาวิศวกรรมเครือข่ายและความปลอดภัย
สาขาวิชากราฟิกดีไซน์
สาขาวิชาแอนิเมชันและมัลติมีเดีย
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
นักโปรแกรมคอมพิวเตอร์
นักพัฒนาเว็บไซต์
ผู้ทดสอบโปรแกรม
นักวิเคราะห์ระบบ
นักออกแบบสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์
นักออกแบบ / พัฒนาระบบเครือข่าย
ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
นักพัฒนาเกม
นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์
นักออกแบบ UI / UX
นักผลิตสื่อดิจิทัล
นักวิเคราะห์ความปลอดภัยด้านไอที
SEO (Search Engine Optimization) Analysis
นักพัฒนาฐานข้อมูล
12. คณะจิตวิทยา
คณะจิตวิทยาจะเรียนเกี่ยวกับการศึกษากระบวนการของจิตใจ ที่ส่งผลต่อความคิด และพฤติกรรมของมนุษย์ ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เนื้อหาที่เรียนเกี่ยวข้องกับ การรับรู้ของมนุษย์ อารมณ์ บุคลิกภาพ พฤติกรรม และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เป็นคณะที่สามารถประยุกต์ใช้ความรู้กับสถานการณ์ในชีวิตประจำวันได้ มีสาขาวิชาให้เลือกเรียน 10 สาขา
อาชีพที่สามารถทำได้เมื่อจบจากคณะจิตวิทยา
เลือกสายการเรียนอย่างไร ให้ตรงกับใจเรา
การเลือกสายการเรียนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเรียนสายศิลป์ หรือสายวิทย์ ก็ควรเลือกสายการเรียนให้ตรงกับใจของน้องนักเรียนเอง เพราะเป็นสิ่งที่กำหนดเส้นทางการศึกษาต่อในอนาคต สำหรับน้องๆ ที่ยังไม่รู้ว่า ควรเลือกเรียนต่อคณะอะไรดี? ลองตอบคำถามเหล่านี้เพื่อหาสายการเรียนให้ตรงใจมากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น
วิชาอะไรที่ชอบ? เพราะการได้เรียนในสิ่งที่ตัวเองชอบจะทำให้มีความสุขไปกับการเรียน ไม่มีความรู้สึกกดดัน และไม่รู้สึกว่าหนักหรือเหนื่อยอีกด้วย จึงควรเลือกสายการเรียนที่เน้นวิชาที่ชอบเป็นหลัก
วิชาอะไรที่ทำคะแนนได้ดี? หากทำคะแนนวิชาอะไรได้ดี ก็แสดงว่ามีความสามารถทางด้านนั้น การเลือกสายการเรียนที่มีวิชาที่ถนัดเป็นวิชาหลัก ก็เป็นวิธีหนึ่งในการตัดสินใจเลือกสายการเรียนได้
คณะอะไรที่อยากเข้า? การมีคณะที่อยากเข้าอยู่แล้วในใจ จะช่วยให้เลือกสายการเรียนง่ายขึ้นทันที ศึกษาข้อมูลของคณะที่อยากเข้าว่ามีความเกี่ยวข้องกับสายอะไร หรือเปิดรับสมัครนักเรียนในแผนการเรียนสายอะไรบ้าง ก็จะช่วยให้เลือกสายการเรียนได้ตรงใจมากที่สุด ทั้งยังเป็นการวางแผนการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยอีกด้วย
สำหรับน้องๆ ที่กำลังจะขึ้นมัธยมปลาย ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องเลือกสายในการเรียนต่อนั้น ระบบการศึกษาของไทยนั้นจะมีแผนการเรียนให้เลือกหลักๆ 2 สายคือ สายวิทย์-คณิต และสายศิลป์ แน่นอนว่าหลายคนที่อยากเรียนสายศิลป์อาจมีความลังเล
และสงสัยว่า เรียนสายศิลป์ภาษาเข้าคณะอะไรได้บ้าง หรือเรียนศิลป์คํานวณเข้าคณะอะไรได้บ้าง รวมถึงสงสัยว่าจบมาแล้วจะทำอาชีพอะไรได้บ้าง บทความนี้คงช่วยตอบคำถามที่สงสัยได้แล้ว ที่นี้น้องๆ ก็ต้องตัดสินใจว่าตัวเองชอบอะไรกันแน่
แล้วเลือกสายที่ชอบและถนัดเลย
พี่ กระจก
mentor
พี่ที่แสน perfect ของทาง mega ที่คอยอัพเดตข่าวสารใหม่ ๆ ให้น้องๆไม่ตกเทรน ได้ถูกต้องและรวดเร็วที่สุด