สรุปความรู้เรื่อง ระบบศาลไทย ที่หลาย ๆ คนยังไม่เคยรู้
ในยุคที่การเมืองมีข้อถกเถียงกันมากมาย ทั้งในเรื่องของคดีความ และข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการพิจารณาคดี ทำให้เราควรที่จะต้องศึกษาในเรื่องของ ระบบศาลไทย กันเอาไว้บ้าง อย่างน้อยก็จะได้มีความรู้ติดตัวในเรื่องของระบบศาลตัดสินคดีความแต่ละประเภท รู้หรือไม่ว่าศาล และละศาล ตัดสินคดีความที่ไม่เหมือนกัน วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จัก และสรุปความรู้พื้นฐาน ของระบบศาลในประเทศไทย ว่ามีลักษณะการแบ่งอย่างไร
สำหรับน้อง ๆ คนไหนที่มีความใฝ่ฝันอยากจะเป็น ผู้พิพากษา ยิ่งต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่องระบบศาล และความเป็นมาของศาลแต่ละประเภท เพราะนอกจากข้อกฎหมายที่น้อง ๆ จะได้เรียนรู้แล้ว น้อง ๆ ก็จะได้เจาะลึกถึงเรื่องของระบบการพิพากษาของไทยด้วย แน่นอนว่ากว่าที่น้อง ๆ จะประสบความสำเร็จเป็นผู้พิพากษา ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้นน้อง ๆ ควรที่จะหมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้กับตัวเองอยู่เสมอ เช่นเดียวกับการสอบเข้ามหาวิทยาลัย น้อง ๆ จะต้องทบทวนเนื้อหาบทเรียนและหมั่นหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อเป็นทักษะเพิ่มเติมให้กับตัวเองในการทำข้อสอบ ถึงจะมีโอกาสสอบติดมหาวิทยาลัยที่อยากเรียน
ประวัติของระบบศาลไทยจากอดีตสู่ปัจจุบัน
ระบบศาลไทย เป็นหน่วยงานฝ่ายยุติธรรม ซึ่งรู้กันดีอยู่แล้วว่ามีบทบาทมาตั้งแต่ในยุคประวัติศาสตร์ ยาวนานต่อเนื่องมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ โดยระบบของศาลในประเทศไทยก็จะมีบทบาทเพิ่มขึ้นอย่างมากในการการเมืองไทยยุคปัจจุบันนี้ อย่างที่เราได้เห็นในข่าวกันทุกวัน และได้ยินชื่อเรียกของศาลต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร ศาลอาญา และยังมีอื่นๆอีกมากมายที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญของไทย ฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยแต่ละศาลก็จะมี ผู้พิพากษา คอยพิจารณาคดีความต่างๆ ตามข้อกฎหมายที่มีกำหนดเอาไว้
สำหรับการปฏิรูปศาลมีมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ที่ได้จัดตั้งหมวดหมู่ของศาล โดยชื่อศาลจะแบ่งแยกตามเขตปกครอง เช่นจังหวัด และแบ่งแยกตามลักษณะของคดีความ รวมไปถึงแยกตามลำดับชั้น แต่ในรัฐธรรมนูญหมวดที่ 10 ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่ตอนนี้ ได้กล่าวถึง 4 สารสำคัญด้วยกัน อันประกอบไปด้วย ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหารนั่นเอง
4 ระบบศาลไทย มีอะไรบ้าง และมีหน้าที่พิจารณาคดีแบบไหน
ระบบศาลไทย ตามรัฐธรรมนูญปีพ.ศ 2550 ซึ่งเป็นฉบับที่ใช้อยู่ในยุคปัจจุบันนี้ ได้กำหนดประเภทของสารเอาไว้ 4ประเภทด้วยกัน แล้ววันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับศาลแต่ละประเภท ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร และใช้ระบบศาลเดี่ยวหรือศาลคู่ในระบบศาลโลก เพื่อเป็นความรู้พื้นฐานของเราทุกคน และน้อง ๆ ที่มีความใฝ่ฝันอยากประกอบอาชีพในสายงาน ผู้พิพากษา จะได้มีความเข้าใจมากขึ้นเมื่อฟังข่าวในยุคปัจจุบันนี้ เพราะเราปฏิเสธไม่ได้การรายงานข่าวในโทรทัศน์ หรือบนโลกออนไลน์ ก็จะได้พบเห็นกับข่าวคดีความมากมายที่มีลักษณะการพิจารณาคดีแตกต่างกันออกไป ถ้าเราทำความรู้จักถึงการทำงานของระบบศาลของไทย เราก็จะพิจารณาข่าวได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น ไปดูกันเลยว่าศาลแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง
1. ศาลรัฐธรรมนูญ ใน ระบบศาลไทย เป็นสารที่มีชั้นเดียวและมีเพียงศาลเดียวเท่านั้น โดยผู้พิพากษาในศาลรัฐธรรมนูญ จะถูกเรียกว่าตุลาการ ตัดสินคดีเกี่ยวกับข้อกฎหมายรัฐธรรมนูญ และมีองค์กรอยู่กลุ่มหนึ่งที่เราเรียกกันว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่เป็นผู้วินิจฉัยกรณีที่เกิดขึ้นทั้งปวง รวมถึงปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญด้วย
2. ศาลยุติธรรม ใน ระบบศาลไทย มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง ยกเว้นคดีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายที่บัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น โดยแบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ซึ่งแต่ละระดับก็จะมีแบ่งแยกย่อยออกไป
3. ศาลปกครอง ใน ระบบศาลไทย มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีเกี่ยวกับการปกครอง เป็นหลักไม่ว่าจะเป็นคดีการทำละเมิดทางการปกครอง คดีที่เกิดจากสัญญาทางการปกครอง รวมไปถึงคดีที่เกิดจากการกระทำของการปกครอง โดยสารประเภทนี้จะแบ่งออกเป็นสารชั้นต้นและชั้นสูงสุด โดยศาลปกครองสูงสุดจะมีอยู่สถานที่เดียวคือ ที่กรุงเทพฯ และมีหน้าที่ที่จะพิจารณาคดีที่อุทธรณ์มาจากศาลปกครองชั้นต้น นั่นเอง
4. ศาลทหาร ใน ระบบศาลไทย มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งผู้ที่กระทำผิดจะต้องอยู่ในอำนาจศาลทหาร หรือเรียกง่ายๆว่าถ้าเกิดคดีที่เกี่ยวกับทหาร ก็จะถูกพิจารณาคดีโดยศาลทหาร เช่นเป็นคดีทหารไปทำร้ายคนอื่น อย่างที่เราเคยเห็นในข่าวอยู่บ่อยครั้ง
การพิจารณาคดีของ ระบบศาลไทย จะต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมมากมายหลากหลายขั้นตอน ซึ่งหน้าที่พิจารณาคดีสูงสุดก็คือ ผู้พิพากษา หากน้อง ๆ คนไหนที่คิดว่าตัวเองอยากจะประกอบอาชีพเป็นผู้พิพากษาในอนาคต ก็จะต้องหมั่นหาความรู้ในเรื่องของกฎหมายอยู่เสมอ และต้องเริ่มที่จะทำความเข้าใจกับระบบของกฎหมายและศาลไทย รวมไปถึงระบบศาลสากลด้วย แต่สำหรับน้อง ๆ ที่ยังอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย สิ่งที่น้อง ๆ จะต้องทำคือ คะแนนสอบทักษะทางวิชาการในรายวิชาสังคมศึกษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ควรที่จะอยู่ในคะแนนที่ดีมากกว่า 70% เนื่องจากคะแนนเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องใช้ในการยื่นสอบเข้ามหาวิทยาลัยอย่างแน่นอน แล้วถ้าน้อง ๆ ต้องการที่จะเพิ่มทักษะความรู้ทางวิชาการ รวมไปถึงอยากได้เคล็ดลับในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย พี่ ๆ megastudy สามารถที่จะให้คำแนะนำน้อง ๆ ได้ ไม่ว่าน้อง ๆ จะอยากเข้าเรียนกฎหมาย หรือเรียนในสาขาวิชาไหนก็ตาม เราพร้อมที่จะสนับสนุนทุกความใฝ่ฝันอย่างเต็มกำลัง
พี่ mega
mentor
พี่ๆคอยให้คำปรึกษาพร้อมแก้ไขปัญหาในทุกเรื่องของการเรียนและสอบให้กับน้อง ๆ