คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
จิตวิทยาในภาพจำของคนทั่วไปอาจเป็นเพียงการอ่านใจคนหรือการสะกดจิต แต่จริง ๆ แล้วจิตวิทยามุ่งเน้นที่การเรียนรู้เกี่ยวกับ
กระบวนการคิด พฤติกรรม อารมณ์ และจิตใจของมนุษย์เป็นหลัก โดยศึกษาทั้งสาเหตุ ที่มา และกระบวนการเกิดความคิด พฤติกรรม
อารมณ์ รวมไปถึงการจัดการกับการแสดงออกทางความคิด หรือพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์อีกด้วย ภาพรวมแล้วจิตวิทยามีหลากหลาย แขนง ซึ่งแบ่งตามสิ่งที่มุ่งเน้นในการศึกษา
โดยในคณะจิตวิทยา จุฬาจะมีการเรียนวิชาพื้นฐานของจิตวิทยาแต่ละสาขาในช่วงปี 1-2 จากนั้นจะสามารถเลือกวิชาที่สนใจได้ด้วยตนเอง
โดยมีทั้งหมด 5 สาขาวิชา ได้แก่ จิตวิทยาปริชาน (Cognitive), จิตวิทยาการปรึกษา (Counselling Psychology), จิตวิทยาพัฒนาการ
(Devlopmental Psychology) และจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (I/O Psychology)
จิตวิทยาปริชาน (Cognitive) ;
ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการคิด ความทรงจำ การเรียนรู้ การแก้ปัญหา และการใช้ภาษา ผ่านการสังเกตพฤติกรรมและศึกษา กระบวนการที่เกิดในสมอง และอธิบายผ่านทฤษฎีทางจิตวิทยา ซึ่งเชื่อมโยงกับสาขาประสาทจิตวิทยา (Neuropsychology)
อาชีพ ; นักจิตวิทยาปริชาน, นักพัฒนา AI, นักวิจัย, นักประสาทจิตวิทยา
จิตวิทยาการปรึกษา (Counselling Psychology) ;
เน้นการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้ในการให้คำปรึกษา โดยมุ่งเน้นให้บุคคลสามารถข้ามผ่านปัญหาทางใจที่เกิดขึ้น เช่น ภาวะซึมเศร้า การปรับปรับตัว ความเครียด ความกังวล โดยจะทำงานกับผู้เข้ารับบริการเป็นหลัก โดยจะมีทั้งการเข้ารับ บริการแบบเดี่ยวและแบบกลุ่ม
อาชีพ ; สามารถทำงานได้ทั้งในองค์ สถานศึกษา ศูนย์สุขภาพจิต หรือเปิดบริการด้วยตนเองได้เช่นกัน
จิตวิทยาคลินิก (Clinical Psychology) ;
เน้นการประเมินอาการ การรักษาเกี่ยวกับความผิดปกติและความเจ็บป่วยทางจิต โดยใช้วิธีการบำบัดที่อ้างอิงมาจากทฤษฎี และการวิจัยต่าง ๆ โดยจะมุ่งเน้นรักษาเยียวยาผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตที่ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิต โดยจะมีการทำงาน ร่วมกับแพทย์ หรือนักสังคมสงเคราะห์ หรือนักกิจกรรมบำบัด อาจมีการทำงานร่วมกับภาครัฐในบางกรณีเพื่อการดูแลผู้ที่มี ความผิดปกติอย่างครอบคลุม
อาชีพ ; .นักจิตวิทยาคลินิกจะต้องผ่านการจบปริญญาสาขาจิตวิทยาคลินิก และผ่านการสอบใบประกอบวิชาชีพก่อน
จิตวิทยาพัฒนาการ (Devlopmental Psychology) ;
ศึกษาพัฒนาการของมนุษย์ตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต ซึ่งศึกษาทั้งพัฒนาการทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สติปัญญา รวมไปถึงสาเหตุการเกิดปัญหาและการจัดการปัญหาในแต่ละช่วงวัย
อาชีพ ; ครูแนะแนว นักจิตวิทยาพัฒนาการ และงานทางด้านจัดกิจกรรมกระตุ้นพัฒนาการในช่วงวัยต่าง ๆ
จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ (I/O Psychology) ;
เน้นการนำทฤษฎีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ในองค์กร เพื่อพัฒนาทั้งศักยภาพของบุคลากรและ พัฒนางานในองค์กร ซึ่งจะส่งเสริมให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีต่อการทำงานให้คนทำงานได้มีประสิทธิภาพและส่งผลให้ ผลประกอบการดีขึ้นไปด้วย
อาชีพ ; นักทรัพยากรมนุษย์, Recruiter, Head hunter
นอกจาก 5 สาขาจิตวิทยาแล้ว การเรียนในคณะยังเน้นไปที่สถิติและการทำวิจัยทางจิตวิทยาซึ่งสามารถนำต่อยอดเป็นอาชีพอื่น ๆ ได้ ในอนาคต เช่น Data ananlyst
พี่ๆคอยให้คำปรึกษาพร้อมแก้ไขปัญหาในทุกเรื่องของการเรียนและสอบให้กับน้อง ๆ
เราใช้คุกกี้ เพื่อคัดสรรสินค้าและบริการที่อาจตรงกับความชอบของท่าน ท่านสามารถอ่าน นโยบายความเป็นส่วนตัว ได้ที่นี่