มาทำความรู้จักกับ ชนิดของคำไทย ที่ใช้ในการสื่อสาร
การสื่อสารของคนไทย เน้นการสื่อสารในลักษณะของการพูด และการเขียน รวมไปถึงภาษาท่าทางต่างๆ ซึ่งแต่ละคำพูดก็มีลักษณะแบ่งย่อย ชนิดของคำไทย ที่ต่างกันออกไป รวมถึงหน้าที่ของคำแต่ละชนิดก็แตกต่างกันด้วย สำหรับวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับเรื่องราวของ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ในชนิดของคำกัน เชื่อว่านักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา คงจะเคยได้เรียนเรื่องนี้ผ่านตากันมาบ้าง แต่หลายคนก็ยังสับสนและจำไม่ได้ว่าคำแต่ละชนิดมีลักษณะอย่างไร รวมไปถึงมีหน้าที่ในการใช้คำอย่างไร
เอาเป็นว่าวันนี้เราลองมาทบทวนเนื้อหาความรู้ในรายวิชาภาษาไทย เพื่อที่จะสรุปความเข้าใจให้กับตัวเองอีกครั้ง ว่าคำแต่ละชนิดมีลักษณะการใช้งานเฉพาะอย่างไร เพื่อที่จะได้ใช้งานให้ถูกต้อง และเป็นประโยชน์ในการสื่อสารมากที่สุด แน่นอนว่าจุดสำคัญของการสื่อสาร คือความหมายของสาร ที่ต้องการจะสื่อให้ผู้รับสารเข้าใจตรงกัน หากใช้คำไม่ถูกต้องก็อาจจะทำให้การเข้าใจผิดเพี้ยนไปได้ ดังนั้นถ้าเราเป็นคนไทยก็ต้องใช้คำไทยให้ถูกต้อง
รู้หรือไม่ว่า ชนิดของคำไทย มีความสำคัญอย่างไรกับการสื่อสาร
หลายคนสงสัยว่า ชนิดของคำไทย มีความสำคัญอย่างไรกับระบบของการสื่อสาร เอาเป็นว่าเรามาเริ่มต้นทำความรู้จักกับความหมาย ภาษาเพื่อการสื่อสาร กันก่อน ซึ่งก็คือคำ หรือถ้อยคำ ที่ใช้เปล่งเสียงออกมา เพื่อที่จะสื่อสารให้กับฝ่ายตรงข้ามได้เข้าใจ อาจจะใช้เป็นภาษาพูด ภาษาเขียน หรือภาษาท่าทางก็ได้ แต่สิ่งสำคัญคือผู้ส่งสาร และผู้รับสาร จะต้องมีความเข้าใจตรงกันในเรื่องเดียวกัน ดังนั้นคำจึงถูกแบ่งหน้าที่ให้มีลักษณะต่างกัน เพื่อเชื่อมความหมายของแต่ละประโยค รวมไปถึงขยายความให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น โดยชนิดของคำในภาษาไทย จะมีทั้งหมด 7 ชนิดด้วยกัน
แน่นอนว่าน้องๆที่อยู่ในช่วงวัยของการศึกษา คงจะเคยได้ยินคำไทย 7 ชนิด กันมากบ้าง แต่หลายคนก็อาจยังจำไม่ได้ว่าคำไทย 7 ชนิดนั้นมีอะไรบ้าง ซึ่งวันนี้เราจะพาน้องๆมาทำความรู้จักกับคำในภาษาไทยที่ถูกต้องกัน
หน้าที่สำคัญ 7 ชนิดของคำไทย ที่เด็ก ๆ ควรรู้
มาสรุปความรู้เรื่อง ชนิดของคำไทย ทั้ง 7 ชนิด ที่เด็กๆควรรู้ เพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการเรียบเรียงประโยคพูด หรือการเขียนจดหมายเพื่อการสื่อสาร องค์ประกอบที่สำคัญก็คือความรู้พื้นฐานของคำไทยทั้ง 7 ชนิดนี้เลย เราไปดูกันเลยว่าแต่ละชนิดมีอะไรบ้าง และมีลักษณะ รวมถึงมีหน้าที่ในการใช้งานอย่างไร
1. คำนาม เป็น ชนิดของคำไทย ที่เราทุกคนต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี คำนามหมายถึง คำที่ใช้เรียกชื่อคน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ต่างๆที่เฉพาะเจาะจง ยกตัวอย่างเช่น เด็กหญิงธนิดา , สถานีรถไฟฟ้าอนุสาวรีย์ , หนังสือเรียนวิชาภาษาไทย เป็นต้น ซึ่งลักษณะของคำนามก็ยังสามารถแบ่งออกได้ 5 ชนิดด้วยกัน ประกอบไปด้วย สามานยนาม , วิสามานนาม , สมุหนาม , ลักษณนาม และอาการนาม
2. คำสรรพนาม เป็นหนึ่งใน ชนิดของคำไทย ที่ใช้แทนคำนามหรือคำที่ได้กล่าวมาแล้ว เพื่อที่จะได้ไม่ต้องกล่าวคำๆนั้นซ้ำอีก ยกตัวอย่างคำเช่น ผม , ฉัน , หนู , เธอ เป็นต้น ซึ่งคำสรรพนามก็ยังถูกแบ่งแยกย่อยออกเป็น 6 ชนิดด้วยกัน ประกอบด้วย บุรุษสรรพนาม , ประพันธสรรพนาม , นิยมสรรพนาม , อนิยมสรรพนาม ,ปฤจฉาสรรพนาม และวิภาคสรรพนาม
3. คำกริยา เป็นคำที่ใช้แสดงอาการต่างๆ และเป็นส่วนสำคัญใน ภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่จะทำให้ผู้รับสารเข้าใจถึงลักษณะอาการ เช่น การเดิน การวิ่ง การกิน การอ่าน หรือการนั่งเป็นต้น ซึ่งคำกริยาก็ยังถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน คือสกรรมกริยา , อกรรมกริยา ,วิกตรรกิริยา และกริยานุเคราะห์
4. คำวิเศษณ์ ชนิดของคำไทย ที่ใช้ในการขยายความให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น หรือจะเรียกให้เข้าใจง่ายๆว่าเป็นคำที่จะขยายรูปประโยคให้เกิดความชัดเจนนั่นเอง ซึ่งคำวิเศษณ์ก็ยังถูกแบ่งออกเป็น 10 ชนิด ประกอบไปด้วย ลักษณะวิเศษณ์ , กาลวิเศษณ์ , สถานวิเศษณ์ , ประมาณวิเศษณ์ , นิยมวิเศษณ์ , อนิยมวิเศษณ์ , ปฤจฉาวิเศษณ์ , ประติชญาวิเศษณ์ , ประติเพธวิเศษณ์ และประพันธ์วิเศษณ์ นั่นเอง
5. คำบุพบท คือคำที่ใช้นำหน้าคำอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบของ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ที่ครบถ้วน ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 จำพวกได้แก่ คําบุพบทที่ไม่เชื่อมกับบทอื่น และคำบุพบทที่เชื่อมกับบทอื่น ๆ โดยจะประกอบด้วยบุพบทบอกเวลา สถานที่ ความเป็นเจ้าของ รวมไปถึงจุดมุ่งหมายหรือความเกี่ยวข้องกัน
6. ทำสันธาน เป็นอีกหนึ่งใน ชนิดของคำไทย ที่มีหน้าที่เชื่อมประโยคให้ต่อเนื่องกัน เพื่อให้ผู้อ่านหรือการพูดมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น โดยลักษณะของคำสันธานจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือชนิดของการคล้อยตามกัน , ขัดแย้งกัน , เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง , หรือเป็นเหตุเป็นผลกัน ซึ่งลักษณะการใช้ในรูปประโยคก็จะมีความแตกต่างกันด้วย
7. คำอุทาน อีกหนึ่งชนิดที่มีความสำคัญต่อ ภาษาเพื่อการสื่อสาร เพราะใช้แสดงอารมณ์หรือความรู้สึกของผู้พูด หรือจะให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือเป็นคำที่แสดงออกมาเมื่อเกิดอาการตกใจ เช่นอุ๊ย! ว๊าย! เป็นต้น
และทั้งหมดนี้ก็คือลักษณะของคำไทยแต่ละชนิดที่มีความแตกต่างกัน รวมอยู่ในประโยคเดียวกัน ก็จะส่งเสริมให้รูปประโยคนั้นสมบูรณ์และเกิดความเข้าใจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สำหรับการเรียนรู้เรื่องของ ภาษาเพื่อการสื่อสาร ยังมีอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นภาษาเขียน ภาษาทางการ รวมไปถึงเรื่องอื่น ๆ ซึ่งอยู่ในเนื้อหาหลักของการเรียนรายวิชาภาษาไทย หากน้องๆต้องการที่จะพัฒนาทักษะความรู้ทางด้านวิชาภาษาไทย ขอแนะนำให้เปิดใจเข้ามาเรียนที่ megastudy สถาบันกวดวิชาที่พร้อมจะมอบความรู้ใหม่ ๆ ให้กับน้อง ๆ แบบจัดเต็มเลยทีเดียว รับรองว่าคุ้มค่ากับเวลาแน่นอน