เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ

ข้อมูลการศึกษา

คลังความรู้  บทความที่คุณต้องการทั้งหมด
สรุปความรู้เรื่อง ประโยคกำกวม ภาษาเพื่อการสื่อสาร
  • พี่ mega
  • 22.02.2566

สรุปความรู้เรื่อง ประโยคกำกวม ภาษาเพื่อการสื่อสาร



ภาษาถือว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าจะยุคสมัยใดก็ตาม ซึ่งประโยคก็เป็นหน่วยหนึ่งของภาษา ที่ช่วยสร้างความสมบูรณ์ให้กับการสื่อสาร ให้ผู้รับสารและผู้ส่งสารมีความรู้ความเข้าใจที่ตรงกัน ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจในเนื้อหาของ ประโยคกำกวม ว่ามีลักษณะอย่างไร และประโยคชนิดนี้จะสื่อสารให้ผู้รับสารเข้าใจความหมายได้จริงหรือไม่ สำหรับ ภาษาในการสื่อสาร  สามารถที่จะแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดคือ วัจนภาษา และอวัจนภาษา ซึ่งวัจนภาษาคือการใช้ถ้อยคำตัวอักษรเป็นสื่อในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน แต่สำหรับอวัจนภาษา คือการที่ใช้กริยาแสดงอาการท่าทางเป็นการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นภาษาใบ้ หรือสัญชาตญาณต่างๆ 

และองค์ประกอบที่สำคัญสำหรับการสื่อสาร ก็คือผู้รับสารและผู้ส่งสาร  เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร รวมไปถึงเรื่องราวข้อมูลต่างๆที่ต้องการจะสื่อสาร ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นองค์ประกอบที่สำคัญเพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย แต่ประโยคบางประโยคก็ทำให้ความเข้าใจไม่ตรงกัน วันนี้เราจะมาเรียนรู้ในเรื่องราวของคำกำกวม ที่อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจไม่ตรงกันได้

 

ประโยคกำกวม คืออะไร และมีลักษณะอย่างไร

สำหรับ  ประโยคกำกวม  เป็นรูปประโยคหนึ่งที่เกิดขึ้นในภาษาไทย ซึ่งจะเป็นประโยคที่มีรูปเดียวกัน แต่มีความหมายที่ไม่เหมือนกัน หรือคำ ๆ นั้นสามารถให้ความหมายได้มากกว่า 1 ความหมาย ทำให้ความหมายที่แสดงออกมานั้นไม่ชัดเจน สำหรับคำกำกวมเป็นประโยคที่เกิดจากความซับซ้อนในการสร้างประโยคนั้น ทำให้ ภาษาในการสื่อสาร  ผิดเพี้ยนไป ดังนั้นเมื่อมีการใช้คำที่มีมากกว่า 1 ความหมายในประโยคของการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน ก็จะต้องมีคำขยาย เพื่อที่จะให้เกิดความเข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน

ลักษณะของคำกำกวม แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะคือ ใช้คำขยายผิดที่ ทำให้เกิดคำกำกวม , ใช้กลุ่มคำหรือคำประสมที่อาจเป็นประโยคได้ , ใช้คำที่มีหลากหลายความหมาย เช่นคำพ้องรูปหรือคำพ้องเสียง , และการเว้นวรรคที่ไม่ถูกต้อง ก็ทำให้เกิดลักษณะของคำกำกวมได้เช่นเดียวกัน ซึ่งก็สรุปได้ว่าการใช้คำกำกวมคือการใช้คำที่มีลักษณะความหมายมากกว่า 1 ความหมาย ทำให้ผู้รับสารสามารถเข้าใจได้หลากหลายทาง รวมไปถึงการใช้ประโยคที่ผิดหลักไวยากรณ์ หรือรูปประโยคที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ ก็อาจทำให้เกิดข้อความที่กำกวม แล้วมีเนื้อหาที่ไม่ชัดเจนได้เช่นกัน

 

5 ตัวอย่างรูปแบบของ ประโยคกำกวม ช่วยเพิ่มความเข้าใจ

วันนี้เรามีตัวอย่าง  ประโยคกำกวม ที่จะทำให้น้อง ๆ สามารถทำความเข้าใจกับการเรียนรู้ในเรื่องของคำกำกวมได้ง่ายมากขึ้น เพราะคำเหล่านี้จะทำให้น้อง ๆ เห็นภาพได้อย่างชัดเจน ว่าในหนึ่งคำที่มีหลายความหมายมีลักษณะเป็นอย่างไร และสำหรับการใช้   ภาษาในการสื่อสาร  แน่นอนว่าน้อง ๆ ควรที่จะสื่อสารข้อมูลต่างๆได้อย่างชัดเจนครบถ้วน และตรงประเด็น เพื่อให้ผู้รับสารเกิดความเข้าใจตรงกันมากที่สุด จึงจะเกิดประโยชน์จากการสื่อสารในครั้งนั้น เราลองมาดูตัวอย่างกันว่ามีอะไรบ้าง 


 

1. ผมกินเงาะในตู้เย็นได้หรือไม่ เป็น  ประโยคกำกวม ที่สื่อความหมายออกมาว่า เด็กผู้ชายคนนั้นกำลังจะเข้าไปกินเงาะในตู้เย็น ซึ่งจริงๆแล้วต้องการที่จะสื่อความหมายว่า ผมกินเงาะที่วางอยู่ในตู้เย็นได้หรือไม่   

2. รถบรรทุกของเก่ากำลังแล่นมาช้า ๆ ประโยคกำกวม สามารถตีความหมายได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น รถสำหรับบรรทุกของโบราณกำลังแล่นมาช้า ๆ , หรือจะเป็นรถบรรทุกขนาดใหญ่รุ่นเก่ากำลังแล่นมาช้าๆ , รวมถึงยังสามารถแปลความหมายได้ว่า รถอะไรสักอย่างหนึ่งบรรทุกของใช้แล้วกำลังแล่นมาช้าๆ ก็ได้   

3. ตำรวจจับผู้ค้ายาเสพติดจำนวนมากที่กลางกรุง ประโยคกำกวม ที่สามารถสื่อความหมายได้ว่า ตำรวจจับผู้ค้ายาเสพติดได้หลายคนบริเวณกลางกรุง หรือ ตำรวจจับพูดค้ายาเสพติดที่มียาเสพติดปริมาณจำนวนมากอยู่ที่กลางกรุง ก็ได้   

4. เขาขับรถชนต้นไม้ตาย  ประโยคกำกวม ที่สื่อความหมายได้ว่า เขาขับรถชนต้นไม้จนตัวเองต้องเสียชีวิต หรือ , เขาขับรถชนต้นไม้ ทำให้ต้นไม้ต้นนั้นตายก็ได้ ซึ่งเป็นความหมายที่ไม่ชัดเจนในรูปประโยคบกพร่องนี้   

5. ใครตามเขามา ประโยคกำกวม นี้สามารถแปลความหมายได้ว่า ใครกำลังเดินตามเขามา หรือ ใครเป็นคนไปเรียกให้เขามา เป็นประโยคที่สื่อความหมายได้ไม่ชัดเจน    

ดังนั้นสรุปได้ว่า  ประโยคกำกวม คือประโยคที่มีการสื่อความหมายไม่ชัดเจน หรือใน 1 รูปประโยคสามารถที่จะแปลความหมายได้มากกว่าหนึ่งความหมาย ซึ่งอยู่ในเนื้อหาของการใช้ภาษาบกพร่อง หรือรูปประโยคบกพร่องนั่นเอง เมื่อเรารู้แล้วว่ารูปประโยคหรือคำกำกวมมีลักษณะอย่างไร ในการสื่อสารแต่ละครั้งก็ควรที่จะเพิ่มคำขยายให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้การใช้   ภาษาในการสื่อสาร นั่นถูกต้องครบถ้วนและสมบูรณ์มากที่สุด สำหรับเนื้อหาในรายวิชาภาษาไทย ประโยคกำกวมนี้ออกข้อสอบวัดระดับความรู้ทางวิชาการอยู่บ่อยครั้ง หากน้อง ๆ อยากที่จะเพิ่มเติมทักษะความรู้ในรายวิชาภาษาไทย สามารถที่จะเข้ามาปรึกษาพี่ ๆ ใน   megastudy เพื่อที่น้อง ๆ จะได้มีความมั่นใจในการสอบมากยิ่งขึ้น รับประกันเลยว่าความรู้ทางด้านวิชาภาษาไทย ที่ได้รับจากพี่ ๆ จะทำให้น้อง ๆ พิชิตคะแนนสอบได้มากกว่า 70% แน่นอน 

 

 


พี่ mega
mentor

พี่ๆคอยให้คำปรึกษาพร้อมแก้ไขปัญหาในทุกเรื่องของการเรียนและสอบให้กับน้อง ๆ

  • #Dek66 #TCAS66 #ALEVEL #THAI
prev ภัยร้ายที่ไม่เงียบ ฝุ่นPM 2.5 ป้องกันดีกว่ารักษา
next y2k เทรนด์การแต่งตัวในตำนาน ที่กลับมาฮิตในปี 2023

หลักสูตร