เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ

ข้อมูลการศึกษา

HOT News บทความที่คุณต้องการทั้งหมด
สาขาในคณะแพทยศาสตร์ที่น่าสนใจ
  • 15.05.2566

สาขาในคณะแพทยศาสตร์ที่น่าสนใจ



      เชื่อว่า คณะแพทยศาสตร์ เป็นคณะในฝันของใครหลายคน อาจจะด้วยอุดมการณ์อันแรงกล้า ที่ต้องการจะดูแลรักษาคนในครอบครัวของ

ตนเอง อยากดูแลรักษาคนเจ็บไข้เป็นอาชีพที่มั่นคง ไม่มีวันตกงานแน่นอน ผลตอบแทน รายได้ที่จากการประกอบอาชีพนี้สูง เป็นหน้าเป็นตา

ให้กับวงศ์ตระกูล  แน่นอนว่าคณะที่มีความน่าสนใจ เต็มไปด้วยอุดมการณ์ ต้องมีการแข่งขันที่สูงมากอย่างแน่นอน ดังนั้นน้อง ๆ คนไหนที่สนใจ

อยากเข้าคณะนี้ต้องเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่น ๆ จะได้มีความพร้อมสอบติดคณะในดวงใจกันได้นะ และอย่างที่เราทราบกันดีว่าหมอเรียนทั้งหมด 6 ปี

หลายคนคงเกิดความสงสัยว่าเรียนจบแล้วสามารถเป็นหมอตา หมอผิวหนัง หมอศัลยกรรมเลยได้หรือไม่ คำตอบคือไม่ได้ เมื่อเรียนจบหมอ 

6 ปีแล้ว ต้องเรียนต่อเฉพาะทางอีก ซึ่งก็มีอีกหลายสาขามาก  เพื่อให้น้อง ๆ สามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้นว่าอยากจะเป็นหมอด้านไหนวันนี้พี่ 

mega จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักสาขาของคณะแพทยศาสตร์กัน

 

กว่าจะเป็นหมอเฉพาะทาง

        ก่อนที่น้อง ๆ จะสามารถเป็นหมอเฉพาะทางได้ น้อง ๆ จะต้องเรียนหมอ 6 ปี เรียนจบเป็น extern และทำงานใช้ทุน 3 ปี เป็น intern 

หลังจากนั้นจึงจะสามารถต่อหมอเฉพาะทางได้ เป็น resident หรือหมอประจำบ้าน ใช้เวลาเรียน 3 -4 ปี  ถ้าหากอยากเจาะลึกไปกว่านั้นอีก 

ก็เรียนอีก 2-3 ปี เป็น followship เรียกได้ใช้เวลาค่อนข้างนานในการที่จะเป็นหมอเฉพาะทาง

 


 

- กุมารเวชศาสตร์

     สาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการดูแล รักษาสุขภาพเด็กตั้งแต่ทารกจนถึงอายุ 18 ปี  เรียนจบไปแล้วจะกลายเป็น กุมารแพทย์ มีหน้าที่ดูแลรักษา

สุขภาพของเด็กตั้งแต่ทารกจนถึงอายุ 18 ปี นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ให้คำแนะนำผู้ปกครองและตรวจดูพัฒนาการของเด็ก

 

- จักษุวิทยา

      สาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างของดวงตา ทั้งกายวิภาคศาสตร์  สรีรวิทยา รวมไปถึงโรคต่าง ๆ ของตา เมื่อเรียนจบด้านนี้จะกลาย

เป็นจักษุแพทย์ ทำหน้าที่รักษาโรคและอาการที่ผิดปกติของดวงตาทั้งหมด เช่น ตาแดง ติดเชื้อบนดวงตา 

 

- จิตเวชศาสตร์

     สาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับอาการบกพร่องทางจิต ที่เกิดจากระบบประสาทของสมอง  เรียนจบด้านนี้ จะกลายเป็น จิตแพทย์ มีหน้าที่ให้

คำปรึกษาปัญหาต่าง ๆ รวมถึงดูแล รักษา อาการทางจิต เช่น โรคซึมเศร้า เครียด นอนไม่หลับ เป็นหมอที่คนตะวันตกชอบไปหากันมาก 

 

- วิสัญญีวิทยา

        สาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการให้ยาชา และยาสลบแก่ผู้ป่วย เรียนจบจะกลายเป็นวิสัญญีแพทย์ หรือที่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า หมอดมยา 

โดยจะต้องทำงานร่วมกับหมอผ่าตัด 

 

- ศัลยศาสตร์

      สาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการผ่าตัด ตั้งแต่เครื่องมือที่ใช้ในการผ่าตัด ไปจนถึงวิธีการผ่าตัด ซึ่งรวมถึงหัตถการด้วย เรียนจบจะกลายเป็น

ศัลยแพทย์ 

 

จะเห็นได้ว่ากว่าจะเป็นหมอไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้ทั้งความรู้ ความสามารถ ความอดทน และความเมตตาที่มีต่อเพื่อนร่วมโลก และถ้าหากต้อง

ต่อยอดความรู้ของตนเองต้องเรียนต่อเฉพาะทางอีกอย่างน้อย 3 - 4 ปี ซึ่งก็มีตัวเลือกให้เรียนอยู่หลายสาขา ขึ้นอยู่กับความชอบ ความสนใจ

และความถนัดของ ๆ แต่ไม่ว่าจะเรียนสาขาไหน ก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน รวมถึงเรียนก็ยากไม่ต่างกันอย่างแน่นอน

 

  • #Dek67 #TCAS67 #ALEVEL
prev 5 อาชีพที่น่าสนใจสำหรับเด็กเอกวิทยาศาสตร์การกีฬา
next คณิตศาสตร์ VS คณิตศาสตร์ประยุกต์

หลักสูตร