5 วิธีอ่านหนังสือ เตรียมทำข้อสอบ TGAT ให้ทัน

เมื่อพูดถึงระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของไทย น้อง ๆ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายคงรู้กันว่าต้องใช้คะแนนสอบเพื่อยื่นเข้าคณะ ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ซึ่งข้อสอบมีหลัก ๆ อยู่ 3 ประเภทด้วยกัน คือ TGAT TPAT และ ALEVEL ซึ่งแต่ละวิชาได้พัฒนาต่อยอดมาจาก GAT PAT และ 9 วิชาสามัญ ซึ่งในส่วนของเนื้อหาที่ออกข้อสอบจะมีทั้งส่วนที่เหมือนกันและต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชา TGAT มีความต่างกับ GAT มากที่สุด ทั้งตัวข้อสอบและการคิดคะแนน
ด้วยความเป็นวิชา TGAT เป็นวิชาที่ต่างกับ GAT มาก การเตรียมตัวในรูปแบบเดิม ๆ อาจจะใช้ไม่ได้ ดังนั้นวันนี้พี่ mega เลยอยากจะมาแนะนำทริค เทคนิคในการอ่านหนังสือเพื่อทำคะแนน TGAT ให้ได้คะแนนสูงกัน รับรองว่า เห็นผลแน่นอน
ทำความรู้จัก TGAT
TGAT ย่อมาจาก Thai General Aptitude Test เป็นการสอบเพื่อวัดสมรรถนะทั่วไป ข้อสอบจะแบ่งออกเป็น 3 พาร์ท นั้นก็คือ การสื่อสารภาษาอังกฤษ การคิดอย่างมีเหตุผลและสมรรถนะการทำงานในอนาคต คะแนนพาร์ทละ 100 คะแนน รวมทั้งหมด 300 คะแนน
TGAT VS GAT
ทั้ง TGAT และ GAT เป็นการสอบวัดสมรรถนะทั่วไปเหมือนกัน แต่ข้อสอบ GAT จะมี 2 พาร์ท คือ ภาษาอังกฤษและความคิดเชื่อมโยง คะแนนพาร์ทละ 150 คะแนน
รวมทั้งหมด 300 คะแนน และในพาร์ทความคิดเชื่อมโยงถ้าหากตอบผิดจะมีการหักคะแนนออกไปด้วย
เทคนิคเตรียมตัวสอบ TGAT

1.เจาะลึกแนวข้อสอบ
อย่างที่พี่ mega กล่าวไปข้างต้นว่าวิชา TGAT นี้เป็นวิชาใหม่ ไม่เคยมีการสอบมาก่อน ดังนั้นวิธีการเดียวที่เราจะสามารถรู้ได้ว่าวิชานี้ออกอะไรบ้างนั้นคือ EXAM BLUEPRINT หรือแนวข้อสอบของทปอ.นั้นเอง เพื่อที่เราจะได้ทราบว่าข้อสอบออกอะไรบ้าง ประเมินตนเองเบื้องต้นว่าเราสามารถทำข้อสอบได้มากน้อยแค่ไหน
2.จัดตารางเวลา
อย่างที่เราทราบกันดีว่าวิชานี้มีข้อสอบทั้งหมด 3 พาร์ท แต่ละพาร์ทเราก็ไม่ได้ชำนาญ เข้าใจ ดังนั้น เราควรจัดตารางเวลาอ่านเนื้อหา ฝึกฝนทำข้อสอบของแต่ละพาร์ท
ให้เหมาะสมกับเรา ครบถ้วนทั้ง 3 พาร์ท
3.ฝึกฝนเพิ่มสกิลภาษาอังกฤษ
เนื่องจากข้อสอบภาษาอังกฤษไม่มีขอบเขตของเนื้อหา และส่วนใหญ่จะออกข้อสอบตามทักษะพื้นฐานนั้นคือ ฟัง พูด อ่านและเขียน ดังนั้นวิชานี้น้อง ๆ สามารถเตรียมตัว
ได้เลย ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์ ไวยากรณ์ หลักการใช้คำศัพท์ต่าง ๆ ไปจนถึงฝึกทำข้อสอบภาษาอังกฤษ เพื่อให้เราชินกับข้อสอบภาษาอังกฤษ เมื่อถึงเวลาเจอข้อสอบของจริงจะได้ไม่ตื่นเต้น ตื่นข้อสอบ ความรู้ที่มีที่สะสมมาจะได้ไม่หายไปในชั่วขณะ
4.หาที่ติว
อย่างที่เราทราบดีว่าสมรรถนะการทำงาน เป็นข้อสอบใหม่ และในโรงเรียนก็ไม่ได้เปิดสอนวิชานี้ ดังนั้น เราจึงควรหาที่ติวสำหรับวิชานี้ จะได้ทำข้อสอบได้
5.ดูแลสุขภาพร่างกาย
สุขภาพร่างกายเเข็งแรงเป็นสิ่งสำคัญมากในช่วงการเตรียมตัวสอบและช่วงสอบ ถ้าหากร่างกายเราไม่พร้อม ต่อให้เราอ่านไปเท่าไหร่ ทำความเข้าใจไปค่ไหนก็ได้ผลลัพท์ที่ไม่ครบ 100 % อย่างแน่นอน อาจจะทำให้สมองเบลอ ไม่มีสามธิในการทำข้อสอบ ส่งผให้คะแนนออมาได้น้อยกว่าที่ตนเองต้องการ