เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ

ข้อมูลการศึกษา

HOT News บทความที่คุณต้องการทั้งหมด
อาชีพเภสัชกรและคณะเภสัชศาสตร์
  • พี่ mega
  • 10.04.2567

อาชีพเภสัชกรและคณะเภสัชศาสตร์

 


 

น้อง ๆ ทราบหรือไม่ว่าอาชีพเภสัชกรไม่ได้มีหน้าที่แค่จ่ายยาตามโรงพยาบาลและร้ายขายยาเท่านั้นแต่ยังมีสายงานอีกมาก ที่เภสัชกรสามารถเข้าไปมีส่วนร่วม นอกจากนี้เภสัชกรยังเป็นอาชีพที่ยังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของประเทศไทยอันดับต้น ๆ

อีกด้วย วันนี้พี่ mega จะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับบทบาทอาชีพเภสัชกร และคณะเภสัชศาสตร์กัน 

 

คณะเภสัชศาสตร์ แบ่งออกเป็น 2 สาขา คือ

  1. สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ

  2. สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

 

สาขาวิชาเภสัชกรรมอุตสาหการ 

จะได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม โครงสร้างยา สมุนไพร การทำตำรับยา การวิเคราะห์ยา เพื่อการค้นคว้าวิจัยและพัฒนายาและสูตรตำรับยาใหม่ๆ ตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย วิเคราะห์ยา ประกัน คุณภาพยา ตรวจสอบการขึ้นทะเบียนตำรับยาให้ได้ยาที่มีคุณภาพและความปลอดภัย

สาขาวิชาการบริบาลทางเภสัชกรรม

จะได้ศึกษาเกี่ยวกับการทำงานในโรงพยาบาล การบริการและบริบาลผู้ป่วยทั้งผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน รวมถึงผู้ป่วยในชุมชน

เพื่อให้คำแนะนำด้านยาแก่ผู้ป่วย การปรับขนาดยา การตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่งยาและฉลากยา เพื่อให้ผู้ป่วย

ได้รับยาที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยมากที่สุด


อาชีพเภสัชกร

  1. เภสัชกรในโรงพยาบาล มีหน้าที่ดูแลและให้คำแนะนำด้านยากับผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์โดยมีระบบงานทั้งงาบริการและบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน งานผลิตยา งานบริการเภสัชสนเทศ (DIS) งานเภสัชกรรมชุมชน

  2. เภสัชกรด้านการวิจัยและพัฒนายา  มีหน้าที่คิดค้น วิจัยและพัฒนายาและสูตรตำรับให้มีประสิทธิภาพ คุณภาพ และ ความปลอดภัย

  3. เภสัชกรด้านการผลิตยา มีหน้าที่ควบคุมการผลิตยาให้เป็นไปตามมาตรฐาน และประกันคุณภาพยาก่อนออกสู่ตลาด

  4. เภสัชกรร้านยา มีหน้าที่วินิจฉัยอาการและโรคเบื้องต้นและจ่ายยาให้เหมาะสม รวมถึงคัดกรองผู้ป่วยที่ควรจะได้รับ การส่งต่อไปรักษาที่โรงพยาบาล

  5. เภสัชกรการตลาด มีหน้าที่วางแผน กลยุทธ์ให้กับทางบริษัทยาในการเผยแพร่สื่อสารข้อมูลด้านยาของบริษัท บนฐานของ ข้อมูลที่เป็นความจริง

  6. เภสัชกรด้านคุ้มครองผู้บริโภค ดูแล เฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ยาหลังออกสู่ตลาด ดูแลการจ่ายและการใช้ยาให้ผู้บริโภคมี ความปลอดภัยจากยา

  7. เภสัชด้านการขึ้นทะเบียนยา ดูแลตรวจสอบเอกสารและการขึ้นทะเบียนยาให้มีความถูกต้อง ครบถ้วนและเป็นไปตาม ที่กำหนด

  8. เภสัชกรด้านการประสานงานวิจัยทางคลินิก ควบคุมดูแล และติดต่อประสานงานให้การพัฒนาและวิจัยยาในคน หรือการวิจัยทางคลินิก เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล





 

พี่ mega
mentor

พี่ๆคอยให้คำปรึกษาพร้อมแก้ไขปัญหาในทุกเรื่องของการเรียนและสอบให้กับน้อง ๆ

prev [ห้ามพลาด] สิ่งสำคัญ 7 อย่างที่ใช้สมัครสอบ TCAS
next Pomodoro Technique