แนวทางการจัดการเรียนการสอน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. จัดการเรียนชดเชย 11 วัน
เนื่องสถานการณ์ไม่ปกติ ที่มีการแพร่่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ทำให้กระทรวงศึกษาธิการได้เลื่อนวันเปิดเทอมออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ทำให้เลยกำหนดการเดิมจากวันที่ 17 พฤษภาคม 2564 มาเป็นจำนวน 11 วัน ในจำนวน 11 วันนี้อาจจะเป็นจำนวนวันไม่มาก แต่มีอีกหลายเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนให้ครบหลักสูตร เช่น
1. เวลาเรียนของผู้เรียน จะต้องครบ 100 วัน ต่อภาคเรียน 200 วันต่อปีการศึกษา ซึ่งการกำหนดวันเวลาที่แน่นอนของโรงเรียนในประเทศไทยคือเริ่ม 16 พฤษภาคม – 31 มีนาคม ของทุกปี ถ้าลบวันหยุดต่างๆออกแล้ว เวลาเรียนของเด็กๆ จะประมาณ 200 วันต่อปีการศึกษา
2. อาหารกลางวัน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโอนงบประมาณมาให้โรงเรียน 200 วัน
3. อาหารเสริมนม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดสรรนมมาให้โรงเรียน 200 วัน เป็นต้น
แต่ในการนี้ สพฐ. เคยให้แนวทางการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรควัรสโคโรน่า 2019 ไว้เมื่อปีการศึกษาที่แล้ว ( 2563 ) ไว้ดังนี้
ตามข้อ 1
1.1 ซักซ้อมความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย การอนุมัติการจบการศึกษาและการจัดทำระเบียนแสดงผลการเรียน (ปพ.1) ปีการศึกษา 2563
1.2 สพฐ.แจ้งแนวปฏิบัติการนับเวลาเรียน การสอนชดเชย และการอนุมัติการจบการศึกษา ปีการศึกษา 2563
ตามข้อ 2 ซักซ้อมการดำเนินงาน โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน เพื่อรองรับสถานการณ์โรคโควิด-19 ระลอกใหม่
ทั้งนี้สำหรับปีการศึกษานี้ สพฐ. จะแจ้งมาอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งก็ไม่น่าจะต่างจากปีการศึกษาที่แล้ว มากนัก โรงเรียนสามารถวางแผนการจัดการศึกษาในสถานการณ์ระบาดของโควิด ระลอก 3 นี้ได้คร่าวๆ ที่บรรยายโดยท่านรองกวินเกียรติ นนท์พละได้อธิบายไว้ ตามสไลด์ที่แอดมิน รักครู.com นำมาฝากครับ
[source : รักครู.com https://www.xn--12cg5gc1e7b.com/27404/]