ทัศนูปกรณ์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยขยายขอบเขตของการมองเห็นให้สามารถเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น โดยมีการใช้ประโยชน์ที่แตกต่างกัน
แว่นขยาย (magnifying glass): เป็นอุปกรณ์ที่ทำจากเลนส์นูน ที่ช่วยขยายขนาดของวัตถุ ให้ส่องดูวัตถุขนาดเล็กที่ตามองเห็นไม่ชัด ให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น ในการใช้ต้องให้ระยะวัตถุอยู่ห่างจากแว่นขยายน้อยกว่าระยะความยาวโฟกัสของแว่นขยาย ลักษณะภาพที่ได้เป็นภาพเสมือนหัวตั้งเหมือนวัตถุ เกิดภาพด้านเดียวกับวัตถุ แว่นขยายที่มีความยาวโฟกัสสั้นจะขยายขนาดของวัตถุได้มาก จึงใช้แว่นขยายส่องดูวัตถุที่ต้องการความชัดเจน เช่น ส่องดูพระเครื่อง ส่องดูเพชร ใช้ดูลายมือ ลายนิ้วมือ เป็นต้น
กล้องจุลทรรศน์ ( Microscope ) : เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เรามองเห็นวัตถุที่ มีขนาดเล็กมาก ประกอบด้วยเลนส์นูนความยาวโฟกัสสั้น ๆ 2 อัน โดยเลนส์อันหนึ่งอยู่ใกล้วัตถุเรียกว่า เลนส์ใกล้วัตถุ ( Objective Lens ) และเลนส์อันหนึ่งอยู่ใกล้ตา เรียกว่า เลนส์ใกล้ตา( Eyepiece Lens ) โดยความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้วัตถุน้อยกว่าความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตามาก
ภาพจาก : http://tk.nana-gallery.com/?p=176
การเกิดภาพจากกล้องจุลทรรศน์นั้นมีดังนี้
■ภาพจากเลนส์ใกล้ตา เป็นภาพจริงหัวกลับ ขนาดขยาย ณ ตำแหน่งที่ไม่เกิดความยาวโฟกัสของเลนส์ใกล้ตา
■ภาพจากเลนส์ใกล้ตา เป็นภาพเสมือนหัวตั้ง ขนาดขยายจากภาพที่เกิดจากเลนส์ใกล้วัตถุ
■ภาพสุดท้าย เกิดเป็นภาพเสมือนหัวกลับกับวัตถุที่นำมาส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
กล้องโทรทรรศน์ (telescope) : เป็นเครื่องมือซึ่งสร้างภาพขยายของวัตถุที่อยู่ไกล กล้องโทรทรรศน์มีสองชนิด คือ
■กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเห (refracting telescope) มีลักษณะเป็นท่อปิด มีเลนส์ใกล้วัตถุอยู่ที่ปลายข้างหนึ่ง และเลนส์ใกล้ตาที่ปลายอีกข้างหนึ่ง
■กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อน (reflecting telescope) เป็นท่อเปิดมีกระจกเว้าอยู่ข้างใน และมีเลนส์ใกล้ตาอยู่ข้างนอก ในกล้องทั้งสองชนิด เมื่อรังสีแสงจากวัตถุที่อยู่ไกลๆ เข้ามาในท่อ รังสีจะหักเหผ่านเลนส์ใกล้วัตถุ หรือสะท้อนจากกระจกเงามาสร้างภาพจริงของวัตถุ ภาพจะถูกมองผ่านทางเลนส์ใกล้ตา ซึ่งจะให้ภาพเสมือนขนาดขยายของวัตถุ กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหอาจมีเลนส์อันที่สามสำหรับทำให้ภาพเป็นแบบหัวตั้ง กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนโดยทั่วไปจะมีกระจกเงาอันที่สองสำหรับส่งแสงมายังเลนส์ใกล้ตา
ภาพจาก : http://tk.nana-gallery.com/?p=176