เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
สังคมศึกษา แคน
พิชิตสังคมกับครูแคน
You can do it !

สังคมศึกษา แคน

Tutor‘s tip

เรื่อง ไม่ลับของ เครื่องมือภูมิศาสตร์-By kru can
  • Kru Can
  • 12.10.2565
  • 403

เรื่อง ไม่ลับของ เครื่องมือภูมิศาสตร์-By kru can 

 

ภูมิศาสตร์ (Geography) มาจากภาษากรีก หมายถึง การบรรยายเกี่ยวกับโลก เป็นวิชาที่ว่าด้วยการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับ สิ่งแวดล้อม มุ่งอธิบายปรากฏการณ์ที่เกิดบนพื้นผิวโลก ทั้งที่เป็นลักษณะทางกายภาพที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ อากาศ มหาสมุทร ฯลฯ และศึกษาสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เช่น การเกษตรกรรม การขนส่ง การวางผังเมือง ฯลฯ ภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีจุดมุ่งหมายสำคัญในการศึกษาพื้นผิวโลก และพยายามอธิบายความซับซ้อนของมนุษย์และความซับซ้อนของธรรมชาติ

สาขาภูมิศาสตร์ เรียนอะไร จบไปทำอะไร พร้อมรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

ภูมิศาสตร์ได้ถูกจำแนกออกเป็น 2 แขนงหลัก ได้แก่ ภูมิกายภาพ (Physical Geography) และ ภูมิศาสตร์มนุษย์ (Human Geography) อย่างไรก็ตาม การศึกษาด้านภูมิศาสตร์มีความจำเป็นต้องอาศัยการสังเกต (Observation) การสำรวจ  (Exploration) การวัด (Measurement) และนำเสนอข้อมูลพื้นที่ออกมา และสื่อที่นิยมที่สุดในการแสดงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นบนโลก ได้แก่ แผนที่ (Map)  ซึ่งเป็นการแสดงสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกบันทึกลงบนกระดาษแบนราบ แม้ว่าในอดีต ดังเช่นสมัยกรีกแผนที่ยังไม่สามารถแสดงลักษณะพื้นผิวโลกได้ถูกต้องมากนัก แต่การสำรวจและการเดินเรือในยุคต่อมา ได้ทำให้การทำแผนที่ (Cartography) มีความถูกต้องน่าเชื่อถือมากขึ้น นอกจากนี้ด้วยวิทยาการที่ทันสมัย การศึกษาทางด้านภูมิศาสตร์ รวมทั้งศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้ประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือ และเทคนิควิธีการศึกษาเกี่ยวกับโลกที่มีความทันสมัยมากขึ้น โดยเฉพาะ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (Geo-information Technology) ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้ในการศึกษาวิจัยและการบริหารจัดการพื้นที่ เครื่องมือที่เป็นที่รู้จัก เช่น ภาพถ่ายจากดาวเทียม รูปถ่ายทางอากาศ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) ระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก (GPS) เป็นต้น

 

เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ (Geographic Tools) เป็นหนึ่งในเนื้อหาสาระที่สำคัญของการเรียนการสอนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน นอกจากนี้ ยังเป็นหนึ่งในทักษะทางภูมิศาสตร์ (Geographic Skills) ที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของ การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ (Geo-literacy) ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจที่เนื้อหาการเรียนการสอนในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จึงได้มีการบรรจุเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเครื่องมือทางภูมิศาสตร์ไว้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้เครื่องมือทางภูมิศาสตร์ในการแสวงหาความรู้ในส่วนของเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้แผนที่ในการอธิบายทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนที่อยู่อาศัย การสืบค้นการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติโดย การอธิบายลักษณะทางกายภาพของทวีปต่างๆ เป็นต้น