ระบบพรรคการเมืองในโลกปัจจุบัน
จากการที่เราตามข่าวจ่างประเทศและการเมืองในประเทศ น้อง ๆ คงทราบกันดีว่าตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้ง เลือกผู้สมัครจากพรรคการเมือง ๆ มาเป็นตัวแทนประชาชนในการเข้าไปดูแลบริหารประเทศ
แต่ถ้าหากมองดี ๆ บางประเทศก็มี 1 พรระค 2 พรรค และมากกว่านั้น ทำไมถึงเป็นเช่นนี้ วันนี้ครูแคนเลยจะพาน้อง ๆ ไปความรู้จักกับระบบพรคการเมือง เพื่อไขข้อสงสัยว่าทำไมถึงมี 1 พรรคบ้าง 2 พรรคบ้าง
1. ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียว (Single – party System)
ระบบพรรคการเมืองพรรคเดียวนี้ส่วนใหญ่พบในประเทศที่ปกครองแบบเผด็จการ ทั้งประเทศมีพรรคการเมืองอยู่เพียงพรรคเดียว เมื่อมีการเลือกตั้งประชาชนก็จะเลือกตั้งคนเท่านั้น
ซึ่งในการปกครองแบบประชาธิปไตยก็มีระบบพรรคเดียวด้วย เมื่อผลเลือกตั้งออกมาจะมีแค่พรรคเดียวที่ชนะขาดลอย ได้เข้าสภา ส่วนพรรคอื่นจะได้ที่นั่งในสภาน้อยมาก
2. ระบบสองพรรค (Two – party System)
ระบบพรรคการเมืองแบบสองพรรคนี้มักจะพบในประเทศที่ใช้ในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งในประเทศนั้นจะมีพรรคการเมืองเพียงสองพรรคใหญ่เท่านั้นที่หมุนเวียนสับเปลี่ยนกันจัดตั้งรัฐบาลจากการเลือกตั้งของประชาชนคือ ในสองพรรคนั้นถ้าพรรคใดได้เสียงข้างมากในสภา พรรคนั้นก็มีสิทธิจัดตั้งรัฐบาลจะเห็นได้ว่าจะให้พรรคใดจัดตั้งรัฐบาลขึ้นอยู่กับความต้องการของประชาชนในประเทศ จากลักษณะของการมีพรรคการเมืองสองพรรคสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นรัฐบาลนี้ก็มิใช่ว่าประเทศนั้น ๆ จะมีพรรคการเมืองเพียงสองพรรคเท่านั้น ความจริงแล้วในประเทศนั้น ๆ มีพรรคการเมืองหลายพรรคแต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชนในประเทศ เช่น ในประเทศอังกฤษ
3. ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค (Multi-party System)
ระบบพรรคการเมืองหลายพรรค ปรากฏอยู่ในประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตย หลายประเทศที่พรรคการเมืองหลายพรรคได้รับการเลือกตั้งเข้าสู่สภาจำนวนไล่เลี่ยกัน ไม่มีพรรคใดพรรคหนึ่งได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาเกินกึ่งของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมด จึงทำให้มีความจำเป็นต้องจัดตั้งแบบผสม เมื่อรัฐบาลผสมหลายพรรคทำให้รัฐบาลขาดเสถียรภาพอยู่ได้ไม่นาน เพราะต่างพรรคก็จะดึงผลประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองของตนเอง ก็แสดงว่าผลประโยชน์ของประเทศชาติบ้านเมืองที่เป็นของประชาชนทั้งประเทศ แต่พรรคการเมืองที่ร่วมรัฐบาลกลับไปแย่งกันเอง เพราะพรรคการเมืองหลายพรรคผสมกันจัดตั้งรัฐบาลนี้แหละจึงทำให้รัฐบาลไม่อยู่ครบเทอม ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายกับระบบการเมืองที่รัฐบาลแย่งผลประโยชน์กันเอง แต่อย่างไรก็ตามระบบหลายพรรคนี้ทำให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสามารถเลือกผู้แทนที่มีความคิดเห็นใกล้เคียงกับตนได้มากที่สุด แต่รัฐบาลจะอ่อนแอพรรคการเมืองในลักษณะนี้มักจะพบในประเทศประชาธิปไตยที่กำลังพัฒนา เช่น ประเทศไทย ประเทศอิตาลี เป็นต้น