นักจิตวิทยากับจิตแพทย์ มีความต่างกันอย่างไร หาคำตอบไปพร้อมกับ
ทักทายน้อง ๆ เด็กเตรียมสอบ และที่ยังไม่เตรียมสอบทุกคนเลยนะครับ วันนี้ ทาง megastudy และครูก๊อฟฟี่ จะมาในหัวข้อเรื่อง ความเหมือนและความแตกต่างของนักจิตวิทยา กับ นักจิตแพทย์ เพราะว่าในช่วงนี้น้อง ๆ หลายคนที่กำลังขึ้นู่มหาลัยก็อาจจะมองยาวไปถึงอาชีพในอนาคตกันเต็มไปหมด แต่เอ๊ะและมันแตกต่างกันอย่างไรหละ 2 สำหรับสองอันนี้ เดี๋ยววันนี้พี่ ๆ mega จะพาทำความรู้จักความแตกต่างกัน พร้อมเสริมให้ด้วยว่า หากอยากเป็น 2 อาชีพนี้ต้องเรียนคณะสาขาอะไรบ้าง หากพร้อมแล้วไปลุยกันได้เลยยย
จิตแพทย์ และ นักจิตวิทยา ทำงานต่างกันอย่างไร?
เมื่อมีเรื่องให้เครียดหรือกังวลใจ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในครอบครัว ความเครียดจากการทำงาน หรือความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและคนรอบข้าง เรามักมองหาคนใกล้ตัวที่จะคอยรับฟังเพื่อแบ่งเบาความทุกข์ลงไปบ้าง แต่บางครั้งความรู้สึกที่เกิดขึ้นก็ท่วมท้นเกินกว่าจะจัดการด้วยตัวเองได้ หรือมีเหตุผลบางอย่างที่ทำให้ไม่สบายใจที่จะระบายกับคนใกล้ตัว การพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญอย่างจิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาจึงดูจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
ซึ่งจริง ๆ แล้ว จิตแพทย์และนักจิตวิทยาต่างก็มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกการทำงานของสมอง รวมถึงการเกิดอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกต่างๆ และมีทักษะการรักษาทางจิตวิทยาด้วยการพูดคุย เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจในความคิดและพฤติกรรมของตนเอง นอกจากนี้เป้าหมายของทั้งคู่คือการช่วยให้สุขภาพจิตของผู้ป่วยดีขึ้น
แต่สิงที่ต่าออกไปของ 2 อาชีพหลักนี้ก็ คือ
- จิตแพทย์ สามารถตรวจวินิจฉัยโรคทางจิตต่างๆ และให้การรักษาที่ครอบคลุมมากกว่านักจิตวิทยา โดยจะเน้นรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด ซึ่งบางครั้งในส่วนของการทำจิตบำบัดจะส่งต่อไปให้นักจิตวิทยาเป็นผู้ดูแล นอกจากนี้จิตแพทย์ยังอาจใช้การรักษาอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การกระตุ้นสมองด้วยไฟฟ้า รวมทั้งมีหน้าที่ในการตรวจสุขภาพกายและประเมินประสิทธิภาพของยาที่ผู้ป่วยใช้
- นักจิตวิทยา ไม่สามารถวินิจฉัยโรคได้ แต่สามารถใช้แบบทดสอบทางจิตวิทยาเพื่อประกอบการวางแผนการบำบัดทางจิต การรักษาของนักจิตวิทยาจะเน้นวิธีการบำบัดทางจิต ความคิด อารมณ์ และพฤติกรรมโดยการพูดคุยแลกเปลี่ยนเป็นหลัก เพื่อหาสาเหตุของปัญหาและร่วมหาแนวทางการแก้ไข รวมถึงให้คำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือความคิดเพื่อฟื้นฟูสุขภาพจิต ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงหรือคาดว่าการใช้ยาอาจช่วยได้ นักจิตวิทยาจะส่งต่อผู้ป่วยไปยังจิตแพทย์ พร้อมผลการประเมินสภาพจิตเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยเพิ่มเติม
หากอยากเป็นนักจิตวิทยา และ นักจิตแพทย์ ควรเรียนคณะไหนดี
มาถึงคำถามยอดฮิตของใครหลายคนที่ต้องการทราบว่าหากอยากประกอบอาชีพ นักจิตวิทยา หรือ นักจิตย์แพทย์ควรเรียนคณะ สาขา ไหนดี พี่ mega ขอเริ่มที่นักจิตวิทยาก่อนเลยย
คณะสาขาที่ควรเรียนหากอยากเป็น นักจิตวิทยา คือ คณะจิตวิทยา หากอยากเรียนแบบตรงสายเป๊ะ ๆ โดยมีด้วยกัน 10 สาขา คือ จิตวิทยาทั่วไป,จิตวิทยาการศึกษา,จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร,จิตวิทยาคลินิก,จิตวิทยาชุมชน,จิตวิทยาการปรึกษา,จิตวิทยาการแนะแนว,จิตวิทยาสังคม,จิตวิทยาการทดลอง และจิตวิทยาพัฒนาการ โดยจะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 4 ปี ในคณะนี้
ต่อมาคือ คณะสาขาที่ควรเรียนหากอยากเป็น นักจิตแพทย์ คือ คณะแพทยศาสตร์ โดยจะใช้เวลาศึกษาทั้งหมด 6 ปี และหลังจากนั้นจะต่อแพทย์เฉพาะทางในภาควิชาจิตเวชศาสตร์อีก 3 ปี
ใช้เวลาทั้งหมดอย่างน้อย 9 ปี มีความเชี่ยวชาญในการรักษาโรคทางจิต รวมถึงความผิดปกติทางอารมณ์และพฤติกรรมได้นั่นเองง
สรุป
จิตแพทย์ กับ จิตวิทยา จะเห็นได้ชัดเจนว่าจะมีความต่างได้ 2 ส่วนชัดเจนคือหนึ่ง จิตแพทย์รักษาได้ จิตวิทยารักษาไม่ได้ แต่เป็นเหมือนคนคอยประคับประคองให้การรักษาเป็นไปได้ด้วยดี
ส่วนที่ 2 ก็น่าจะเป็นเรื่องของการเรียนที่ดู ๆ แล้วจิตแพทย์มีการเรียนแบบสายเฉพาะทางมากกว่านักจิตวิทยา และมีความเชี่ยวชาญมากกว่า แต่ไม่ว่าน้อง ๆ จะเลือกอะไรพี่ Mega ก็ขอเป็นกำลังใจให้กับน้อง ๆ ทุกคน พร้อมทั้งขอฝากคอร์ส A-LEVEL สังคม ของครูก๊อฟฟี่ที่จะเปิดสอนเร็ว ๆ นี้ด้วยน้า เป็นคอร์สสอนสด และหากใครกำลังเตรียมสอบอยู่ไม่ว่าจะวิชาไหน TGAT,TPAT,TPAT3 ก็สามารถให้ megastudy เป็นตัวช่วยของน้อง ๆ ให้สอบได้คะแนนดี ๆ พิชิตข้อสอบ สู่มหาลัยในฝันไปพร้อมกันนะครับ