เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
ภาษาไทย เฟลมมี่
เก็บเต็มภาษาไทย
เชื่อใจครูเฟลมมี่

ภาษาไทย เฟลมมี่

Tutor‘s tip

필독การเขียนเรียงความ เขียนอย่างไรให้เก่งและน่าจดจำ
  • Kru flammy
  • 18.10.2565
  • 248

การเขียนเรียงความ เขียนอย่างไรให้เก่งและน่าจดจำ 


น้อง ๆ หลายคนทั้ง ประถม,มัธยมต้น และม.ปลาย คงจะต้องผ่านการเรียนวิชาภาษาไทยมากันอยู่แล้ว แต่คำถามคือ ภาษาไทยดูเป็นวิชาที่ง่ายแต่จริง ๆ แล้วนั้นแอบมีความยากมากมายที่จะเรียนภาษาไทยให้เก่ง วันนี้ทาง megastudy และครูเฟลมมี่ จะมากล่าวถึงบทความ 1 เรื่อง ของการเขียนเรียงความ ควรเขียนอย่างไรให้ได้คะแนนเต็มเพื่อที่ตอนสอบน้อง ๆ จะได้ไม่พลาดเก็บคะแนนสำคัญกัน

 

การเขียนเรียงความ 

การเขียนเรียงความ หนึ่งในเนื้อหาวิชาภาษษไทยระดับชั้น ม.ปลาย ทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ คือเรื่องที่เราต้องนำเอาคำมาขัดเกลาเรียงกันประกอบเป็นเรื่องราว เพื่อสื่อสาร ให้ผู้รับสารเข้าใจในความหมายของผู้ส่งสาร โดยอาจจะเขียนเป็นรูป ของ จดหมาย รายงาน ตอบคำถาม ข่าว บทความ ก็ได้ ซึ่งแล้วแต่วัตถุประสงค์ของผู้สื่อสารว่าต้องการจะสื่อสารอะไร ฉะนั้น หากอยากเขียนเรียงความต้องสื่อสารความหมายในรูปแบบประโยคให้เป็นด้วยน้าาาา


Pile of colorful magazines on a table

เรียงความประกอบด้วย

การเรียงความประกอบด้วย 3 ส่วน หลัก ๆ คือ ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง และส่วนท้ายสรุป แต่ประเด็นของคพถามคือหากน้อง ๆ ต้องมีการสอบเรียงการเขียนเรียงความในวิชาภาษาไทยหละจะต้องเขียนอย่างไรให้สมบูรณ์แบบและสอบได้คะแนนเต็ม ซึ่งจากที่กล่าวมานั้น การเขียนเรียงความนั้นหากประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ ที่เราเขียนแต่หากเราเขียนผิดจุดประสงค์ก็อาจจะทำให้บทความ หรือข้อความนั้นของเรามีการผิดเพี้ยนในเรื่องของการสื่อสาร 

ฉะนั้นเราจะต้องทราบด้วยว่า แต่ละส่วนของการเขียนเรียงความควรเขียนอย่างไรให้ละเอียดครบถ้วน 

 

ส่วนนำ 

การเขียนส่วนนำเป็นการหยิบยกประเด็นหรือวัตถุประสงค์หลักที่จะสื่อสาร หรืออีกหนึ่งปัจจัยคือการเร้าหรือเกริ่นความน่าสนใจของหัวเรื่องนั้น ๆ ให้แก่ผู้รับสารด้วย ซึ่งเราสามารถกล่าวส่วนนำได้หลายแบบเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการกล่าวส่วนนำด้วย คำถาม ปัญหาเร่งด่วน เรื่องที่จะเขียน บอกจุดประสงค์ของการเขียน เป็นต้น  ​

 

ส่วนเนื้อเรื่อง

เป็นส่วนสำคัญที่สุดของการเขียนเรียงความ เพราะเป็นส่วนที่ต้องแสดงความรู้ ความคิดเห็น ให้ผู้อ่านทราบตามโครงเรื่องที่เราวางไว้ เนื้อเรื่องของบทความต้องแสดงออกถึงสาระสำคัญของเรื่อง อย่างมีรายละเอียดที่เป็นข้อเท็จจริงและมีการอธิบายอย่างเป็นลำดับขั้น ซึ่งเนื้อเรื่องจะประกอบด้วยย่อหน้าต่าง ๆ หลายย่อหน้าก็ตามแต่สาระสำคัญที่ต้องการกล่าวถึง ดังนั้นการเขียนเนื้อเรื่องถึงจะแตกแยกย่อย ออกไปอย่างไร จะต้องรักษาสาระสำคัญใหญ่ของเรื่องไว้ให้ได้นั่นเอง

ส่วนท้ายหรือสรุป

การเขียนส่วนท้ายสรุปเป็นเหมือนการ สรุปรวบยอดใจความสำคัญอีกทีตั้งแต่ต้น ของส่วนนำ ไปจนถึงเนื้อเรื่อง เพื่อให้ผู้รับสารหรือผู้อ่านเข้าใจเนื้อหาของบทความเรา หรือเรื่องที่เขียนให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น เปรียบเทียบง่าย ๆ เป็นเหมือนการที่เราสรุปใจความสำคัญของตัวเนื้อหาอีกที เพื่อแสดงเจตจำนง หรือ ตอกย้ำเรื่องที่เราต้องการสื่อสารให้ผู้อ่านหรือผู้รับสารฟังว่า ประเด็นต่าง ๆ นั้นมีอะไรบ้าง ​ซึ่งส่วนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญของตอนจบเป็นอย่างมาก หากเรามีส่วนนำที่ดี มีเน้อเรื่องที่ดี แต่สรุปท้าบบทไม่ดี อาจเกิดความสับสนและความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนได้ ซึ่งการเขียนส่วนท้ายหรือสรุปนี้ ไม่ควรมีความยาว ไม่เกิน 8 บรรทัด แต่เราต้องรวบรวมเรื่องราวหลัก ๆ ของใจความสำคัญทั้งหมดออกมาให้ได้ ว่าสุดท้ายแล้วเราต้องการให้ผู้อ่านเห็นอะไรเป็นลำดับขั้นตอน 1 2 และ 3 

 

Hand of businesswoman writing on paper in office

สรุป

เรื่องของการเขียนเรียความนั้น เป็นหนึ่งในบทเรียนวิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียน ม.ปลาย ทั้งสายวิทย์ และสายศิลป์ ซึ่งการเรียนหรือการสอบในเรื่องนี้ หากหมายมั่นจะได้คะแนนเต็มสิ่งที่เราต้องจดจำนั้นและสำคัญยิ่งกว่าการนึกเรื่องที่จะเขียน คือ การหา Point หลักของเรื่องให้เจอ จากนั้นเราจึงจะค่อยเรียนรู้การเขียนรายละเอียดทีละองค์ประกอบ ตามด้วยเจตนาที่เราต้องการสื่อสารนั้น ๆ นักเรียนที่สอบในเรื่องนี้ บางคนมักจะลืมถึงหัวใจหลักสำคัญของตรงนี้ไปจึงอาจพลาดในการเก็บคะแนนสอบสำคัญ ถือจะเป็นตัวเพิ่มเกรดได้ และทาง megastudy เราใส่ใจในเรื่องนี้ด้วยคอรส์วิชาภาษาไทย ที่มีในทุกระดับชั้น ซึ่งเทคนิคในวันนี้เป็นเพียงแค่บางส่วน แต่หากในการเรียนภาษาไทยให้เก่งนั้น จะต้องมีอีกหลายส่วนของบทเรียนที่เราต้องเรียนรู้ หากน้อง ๆ คนไหนต้องการเรียนแบบเจาะลึกหรือปูพื้นฐานเพื่อให้มั่นใจเวลาลงสนามสอบว่าจะเก็บคะแนนเต็มแน่นอน  คอร์ส GURU วิชาภาษาไทยจะมาช่วยน้อง ๆ ในทุกเรื่องของภาษาไทยให้เก่งขึ้นได้อย่างแน่นอน