เรียนพิเศษ ติวสอบ ออนไลน์ กวดวิชาติวเตอร์อันดับ 1 | Megastudy

megastudy

หาวิชาที่ต้องการค่ะ
ภาษาไทย เฟลมมี่
เก็บเต็มภาษาไทย
เชื่อใจครูเฟลมมี่

ภาษาไทย เฟลมมี่

Tutor‘s tip

การใช้ภาษาแสดงเหตุผล เรียนรู้ภาษาไทยง่าย ๆ ไปกับครูเฟลมมี่
  • Kru flammy
  • 25.10.2565
  • 259

การใช้ภาษาแสดงเหตุผล ในภาษาไทย 


​การใช้ภาษาเพื่อแสดงเหตุผลในหลักภาษาไทย  นั้นเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญ ที่น้อง ๆ ในระดับชั้นมัธยมต้น และ ปลาย อาจจะยังไม่ทราบวว่าเราจะสังเกตได้อย่างไร ว่าภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผลเป็นยังไง 

วันนี้เราจะภาษาน้อง ๆ ทุกคน ไปทำความรู้จักกับภาษา ที่ใช้ในแสดงเหตุผล ในทุกเรื่องที่เรารู้ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างของภาษาหรือความหมาย เพื่อที่น้อง ๆ อาจจะต้องพบเจอในการสอบเก็บคะแนนจะได้ไม่พลาดคว้าคะแนนสอบสำคัญไปง่าย ๆ  รวมถึงสามารถนำไปใช้ได้ถูกได้ในชีวิตประจำวัน หากพร้อมแล้วเรามาเริ่มกันเลย!!

 

ความหมายของเหตุผล

​ก่อนจะไปเริ่มที่เนื้อหา อยากให้น้อง ๆ ทำความเข้าใจกับความหมายของเหตุผลก่อน ว่าคืออะไร เรามักจะใช้คำนี้บ่อยในชีวิตประจำวัน แต่ส่วนน้อยนักที่จะรู็ความหมายของเหตุผล 

ซึ่ง เหตุผล หมายถึง ความคิดอันเป็นหลักทั่วไปกฎเกณฑ์ รวมทั้งข้อเท็จจริง ที่สนับสนุนข้อสรุป ข้อวินิจฉัย ข้อตัดสินใจ หรือข้อยุติ เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เนื่องจากเราใช้ เหตุผล ในการสนับสนุน ข้อสรุป

เราอาจจะเรียก เหตุผล ว่าข้อสนับสนุนก็ได้ และข้อสรุป เป็นคำกลาง ๆ เป็นศัพท์เฉพาะ ที่เกี่ยวกับการแสดงเหตุผล ในภาษาที่ใช้กันอยู่ตามปกตินั้นอาจเรียกว่า ข้อสังเกต,การคาดคะเนคำวิงวอนข้อคิดหรือการตัดสินใจ เป็นต้น

 

Happy businesswoman is the winner. beautiful lady in white blouse raised her hand and smiling because of success.

โครงสร้าง และลักษณะของการแสดงเหตุผลและภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผล

​ต่อไปเรามาเริ่มกันที่โครงสร้างของภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผลกันบ้าง ว่ามีอะไร โดยหลัก ๆทั่วไปแล้ว เราจะแบ่งได้เป็น 2 โครงสร้างหลัก ๆ คือ ตัวเหตุผล หรือเรียกว่า ข้อสนับสนุน กับ ข้อสรุป ซึ่งลักษณะขอภาษาที่ใช้ในการแสดงเหตุผลจะสามารถใช้ได้  ลักษณะดังที่แบ่งดังต่อไปนี้

 

  • ใช้สันธานที่จำเป็นบางคำ มักเรียงเหตุผลไว้ก่อนสรุป โดยใช้สันธาน จึง เพราะ เพราะว่า เพราะฉะนั้น เพราะ  จึง หรืออาจเรียงข้อสรุปไว้ก่อนเหตุผล โดยใช้คำสันธาน เพราะ เพราะว่า ทั้งนี้เพราะว่า
  • ไม่ใช้สันธาน แต่เรียบเรียงข้อความโดยวางส่วนที่เป็นเหตุผล หรือส่วนที่เป็นข้อสรุปไว้ให้เหมาะสม  ผู้ฟังก็จะรับสารได้ว่า ข้อความนั้นเป็นการแสดง เหตุผล อยู่ในตัว เช่น ฉันจะไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรคใด ๆ เป็นอันขาด จะเห็นว่า วรรคแรก เป็นข้อสรุป วรรคที่สอง เป็นเหตุผลที่สนับสนุนข้อสรุป
  • ใช้กลุ่มคำเรียงกันบ่งชี้ว่า ตอนใดเป็นเหตุผล หรือข้อสรุป เมื่อต้องการชี้เหตุผลและข้อสรุป ให้ชัดแจ้งลงไป ก็ระบุไปว่า ข้อสรุป ข้อสรุปว่า เหตุผลคือ เหตุผลที่สำคัญคือ
  • ใช้เหตุผลหลาย ๆ ประกอบกันเข้า เพื่อเป็นการเพิ่มน้ำหนักให้แก่ข้อสรุปของตน โดยแยกแยะเหตุผลเป็นข้อ ๆ ไป เพื่อช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น

 

 

Young asian professional teacher and student having a class together


กระบวนการแสดงเหตุผลและการอนุมาน

 

-การอนุมาน หมายถึง กระบวนการคิดในการหาข้อสรุปจากเหตุผลที่มีอยู่ การอนุมานมี  ประเภท คือ การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย และการอนุมานด้วยวิธีอุปนัย

การอนุมานด้วยวิธีนิรนัย คือ การแสดงเหตุผลจากส่วนรวม ไปหาส่วนย่อยหรือการอนุมาน จากหลักความจริงทั่วไปกับกรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง แล้วอนุมาน ได้ข้อสรุป ซึ่งเป็นกรณีเฉพาะอีกกรณีหนึ่ง เช่น​  

หลักความจริงทั่วไป    - มนุษย์ทั้งปวงต้องการปัจจัยสี่

กรณีเฉพาะกรณีหนึ่ง   - ฉันเป็นมนุษย์

ข้อควรสังเกตการแสดงเหตุผลด้วยการอนุมาน ข้อสรุปด้วยวิธีนิรนัย ต้องเป็นเช่นนั้น ,ข้อสรุปด้วยวิธีอุปนัย น่าจะเป็นเช่นนั้น ​ 


-การอนุมานด้วยวิธี หมายถึง การอนุมานโดยพิจารณา สาเหตุและผลลัพธ์ที่สัมพันธ์กัน​ นั่นเอง

 

สรุป 

การใช้ภาษาเพื่อแสดงเหตุผล​ในหลักภาษาไทยนั้น จำเป็นต้องรู็ถึง ความหมายของ เหตุผล และลักษณะโครงสร้างของตัวมันก่อน จึงจะทำให้ใช้ได้อยู่ถูกต้อง และไม่ผิดพลาดทั้งในตอนใช้และตอนสอบ โดยหากมาถึงตรงนี้น้อง ๆ คนไหนอยากเข้าใจและรู้หลักในวิชาภาษาไทยมากขึ้น ที่ megastudy เรามีคอร์ศติวเข้มข้น GURU ภาษาไทย ทั้งเนื้อหาและแบบฝึกหัดจากข้อสอบจริง เพื่อให้น้อง ๆ เข้าถึงแก่นหลักของภาษษไทยได้โดยแท้ และทั้งนี้ภาษาไทยเป็นภาษาที่ไม่ยากหากเราเข้าใจในเนื้อหาและความหมายโดยนัย หากน้อง ๆ คนไหนคิดว่าภาษษบ้านเกิดคือจุดอ่อนในการดึงเกรดให้ตกลงทุกครั้งเวลาสอบ มาหาเราที่ megastudy เราช่วยคุณได้ รวมถึงคอร์สสอบเข้ามหาลัย และ คอร์สสอบเข้า ม.1 , ม.4​ ในวิชาภาษาไทย เราก็มีให้น้อง ๆ เลือก ไม่ว่าจะยากแค่ไหนเราสอนให้เข้าใจได้ง่าย ๆ แล้วพบกันใหม่กับโพสหน้าน้า บ๊ายบายครับ​